วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

การสร้าง “Brand” ที่เข้มแข็งและยั่งยืน

การสร้าง “Brand” ที่เข้มแข็งและยั่งยืน

การสร้าง brand ให้เข้มแข็งและยังยืน จะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน

โดยมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

1. การวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนา brand

นักสื่อสารเพื่อสร้าง brand จะต้องรวมรวมข้อมูล จากการวิจัยการตลาด การวิจัยคู่แข่ง การวิจัยการสื่อสาร การประเมินผลต่าง ๆ ฯลฯแล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค(SWOT analysis) ของ brandแล้วจึงนำมาสรุปเป็นความคิดรวบยอด (big idea) เพื่อหาคุณค่าของ brand (value position)เพื่อนำมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการวางแผนสร้าง brand ให้ประสบความสำเร็จ

2. การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ในการสร้าง brand ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ

ผู้บริหารองค์กรจะต้องกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการสื่อสาร brand ให้สอดคล้องกับคุณค่าของbrand และความต้องการของลูกค้า โดยจะต้องระบุเป้าหมาย วันเวลาในการดำเนินงาน ผลที่ต้องการให้ brand เกิดขึ้นในจิตใจของผู้บริโภค รวมถึงวิธีการประเมินผล และแนวทางการดำเนินงานต่อเนื่องและต้องตระหนักเสมอว่าการสื่อสาร brand ให้ประสบความสำเร็จเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนและทุกระดับในองค์กร

3. การประเมินแผนยุทธศาสตร์ในการสร้าง brand ส่วนใหญ่จะดำเนินงานร่วมกับ

การวิจัยทางการตลาด สำหรับรูปแบบการประเมินจะเป็นเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ หรือผสมผสานก็แล้วแต่เป้าหมายที่กำหนดไว้แต่ต้น

....................................

ขั้นตอนการสร้าง brand ให้ประสบความสำเร็จ

การสื่อสารเพื่อสร้าง brand ให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องสร้างให้เกิดทั้ง brand awareness , brand preference และ brand loyalty นั่นคือ

1.Brand awareness คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและรับรู้ต่อคุณค่าของ brand โดยเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารจะต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุดและมักจะใช้กระบวนการสื่อสารที่สร้างความสนใจ (impact) และสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย

2.Brand preference การตัดสินใจยอมรับ brand

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญและถือว่ายากที่สุด ซึ่งหลักในการสื่อสารเพื่อสร้าง brand ให้ครองใจผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายต้องเชื่อมโยงทั้งระบบขององค์กร และเชื่อมโยงหลักการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ประการสำคัญจะต้องสามารถสื่อคุณค่าของ brand ที่แตกต่าง และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดี


3.Brand loyalty

เคยมีคำกล่าวว่า การใช้งบประมาณในการรักษาลูกค้าเดิมถูกกว่าการแสวงหาลูกค้ารายใหม่ถึง 5 เท่า ดังนั้น การทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความจงรักภักดีต่อ brandด้วยการสร้างมิตรภาพ ความไว้วางใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน และการตอกย้ำคุณค่า brand ในจิตใจของผู้บริโภคถือว่าสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้ออื่น และการสื่อสารตรงโดยใช้การสื่อสารผ่านพนักงาน เว็บไซท์ หรือ การใช้กิจกรรม ฯลฯ จะสร้างให้เกิดความใกล้ชิดระหว่างลูกค้ากับองค์กรยิ่งขึ้น

หลัก 8 ประการ ในการสร้างพลังให้แก่ “Brand”

(8C’s for Brand Creation)

ในการสร้างพลังให้เกิด brand awareness , brand preference และ brand loyalty

ต้องยึดหลัก 8 ประการดังต่อไปนี้เป็นคัมภีร์หลักในการสื่อสาร ประกอบด้วย

1. Communication การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ถือเป็นหัวใจสำคัญของการกำหนดภาพลักษณ์ขององค์กร โดยจะต้องเลือกเครื่องมือการสื่อสารให้สอดคล้องกับจุดยืนหรือคุณค่าของ brand ที่ต้องการนำเสนอ ประการสำคัญเนื้อหาที่สื่อสาร (content) ต้องสามารถสื่อคุณค่าของ brand ได้อย่างชัดเจนด้วย

2. Customer needs and wants

การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการพื้นฐาน วิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของผู้บริโภคหรือผู้รับสาร ดังนั้น การพัฒนาสินค้า(product development) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำให้ brand เข้าไปยึดครองพื้นที่ในจิตใจของผู้บริโภคได้

3.Consistency ความกลมกลืนและสอดคล้องกัน

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและทรงพลังคือ การสื่อสารที่เป็นเอกภาพ ไม่ว่าจะสื่อสาร brand จากจุดใด จากพนักงาน ร้านค้า การโฆษณาหรือ กิจกรรมต่าง ๆ ฯลฯ ควรเป็นไปในทิศทางที่สร้างให้ผู้รับสารเห็นคุณค่าเช่นเดียวกันทั้งหมด

4.Culture หรือ Community การสื่อสารที่สอดคล้องกับชุมชน สังคม และวัฒนธรรม

เป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ brand ได้อย่างยั่งยืน เราจะเห็นได้จากบริษัทข้ามชาติเป็นจำนวนมากที่ต้องปรับภาพลักษณ์ของตนให้เข้ากับวัฒนธรรมและสภาพสังคมของแต่ละแห่ง โดยยังคงยึดหลักของ brand ที่ต้องการนำเสนอเป็นแกนกลาง และปรับให้สอดคล้องกลมกลืนเข้ากับสภาพวัฒนธรรม

5. Cost of user การตั้งราคาที่มิได้หมายถึงการคำนวณกำไรขาดทุน

หรือการกำหนดราคาเพื่อการแข่งขันเท่านั้น แต่การตั้งราคา คือ องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารคุณค่าของ brand ปัจจุบันเราจะพบสายการบิน low cost เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจากอดีตยานพาหนะอย่างเครื่องบินที่มีไว้เฉพาะคนมีรายได้สูงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน slogan “ใคร ๆ ก็บินได้ (everyone can fly)” ทำให้ brand ใหม่ของสายการบินประเภท low cost เข้าไปอยู่ในจิตใจของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ

6. Creative คือ การสร้างความแตกต่าง การเพิ่มคุณค่า การใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้ออื่น ทั้งนี้ การจะสร้างให้ brand ประสบความสำเรจได้โดยง่ายปัจจุบันว่ากันว่า การแข่งขันจะชนะหรือแพ้ก็อยู่ที่ creative นั่นเอง

7.Convenience คือ การอำนวยสะดวกสบายให้ผู้บริโภคได้เข้าถึง

รู้จัก และ เรียกใช้บริการได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในร้านค้า เว็บไซท์ ร้านสะดวกซื้อ โทรศัพท์ รถแทกซี่ รถเมล์ ฯลฯ ซึ่งการสร้างช่องทางในการเข้าถึงสินค้าได้มากและสะดวกเท่าไหร่การสื่อสาร brand จะเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นเท่านั้น

8.Change การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคมีเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ดังนั้นการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นทิศทางที่จะทำให้ brand ไม่ ตาย เพราะจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขและรักษา brand ให้ครองใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

ลองหันกลับไปตรวจสุขภาพของแบรนด์ดูว่า....ครบถ้วนหรือไม่อย่างไร?


หมั่นคอยดูและและรักษาดวงใจ

เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าการสร้าง แบรนด์ หรือ ตรายี่ห้อ เป็นภารกิจที่สำคัญของงานการตลาด เพราะมีตรายี่ห้อดีย่อมเกิดผลดีหลายประการ เช่น

สามารถหลีกเลี่ยงสงครามราคา

ได้ใช้ประโยชน์จากตรายี่ห้อที่แข็งแกร่งกับสินค้าใหม่

ลูกค้ามีความจงรักภักดี

เพิ่มยอดขายและส่วนครองตลาดได้ และทำให้เป็นที่พอใจของฝ่ายบริหารและผู้ถือหุ้น

เมื่อสินค้ามีตรายี่ห้อที่ผู้บริโภคมองว่ามี คุณค่า แล้วนักการตลาด

จะต้องพยายามรักษาความแข็งแกร่งนี้ไว้ด้วยการหมั่นตรวจสอบความแข็งแกร่งของตรายี่ห้อ

อยู่เสมอ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ตรายี่ห้อเสื่อมความนิยมและอาจทำให้ล้มเหลวในที่สุด

มีดังต่อไปนี้

ประการที่ 1: ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการจัดการ ตรายี่ห้อ และ สินค้า

การสร้างตรายี่ห้อเป็นการจัดการที่เกี่ยวข้องกับทุกๆสิ่งที่จะทำให้ตรายี่ห้ออยู่ในใจของผู้บริโภค เป็นการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมการตลาดหลายๆ อย่าง อาทิเช่น การออกแบบสินค้า

การตั้งชื่อ การสร้างความแตกต่างของสินค้า การหาจุดขายที่เหมาะสม การสร้างบุคลิกให้กับสินค้า การกำหนดตำแหน่ง กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย และการสื่อสารการตลาด

เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งของสินค้า และถูกใจกลุ่มเป้าหมาย จะเห็นว่าการจัดการเกี่ยวกับสินค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างตรายี่ห้อเท่านั้น

การจัดการให้มีสินค้าสำหรับขายไม่เพียงพอที่จะทำให้ตรายี่ห้อแข็งแกร่ง ดังนั้นผู้รับผิดชอบสินค้าต้องตระหนักว่ามีภาระกิจในการสร้างตรายี่ห้อจะต้องเข้าใจภาระงานดังกล่าว และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกัน

ตัวอย่างเช่น ตรายี่ห้อที่ถูกกำหนดให้มีบุคลิกน่าเชื่อถือ มีความรู้ ภาษาที่ใช้สื่อสารในบรรจุภัณฑ์ และข้อความโฆษณาก็ต้องใช้ภาษาที่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ สีและแบบของบรรจุภัณฑ์ก็เช่นกันจะต้องสะท้อนถึงบุคลิกดังกล่าวด้วย

ภาพประกอบ รองเท้ากีโต้ วางคุณลักษณะของรองเท้าว่าใส่แล้วเท่

ประการที่ 2: คุณภาพของสินค้าไม่คงที่

เมื่อผู้บริโภคเคยใช้สินค้าหรือบริการแล้วเกิดความประทับใจ เรียกได้ว่ามี ประสบการณ์ที่ดีกับตรายี่ห้อ เขาสามารถอธิบายถึงคุณลักษณะเด่น ที่เขาประทับใจได้

เช่น รองเท้ายี่ห้อ A เป็นรองเท้าที่ใส่สบาย หนังนุ่ม เดินสะดวก ไม่เจ็บเท้า แบบทันสมัย เหล่านี้เรียกว่า ประสบการณ์เกี่ยวกับยี่ห้อ (Brand experience)

ผู้รับผิดชอบรองเท้ายี่ห้อ A จะต้องคงคุณภาพที่ดีดังกล่าวเอาไว้ให้คงที่หรือมีพัฒนาการให้ ดีขึ้น

การที่ไม่สามารถรักษามาตรฐานของสินค้าไว้ได้ย่อมทำให้เกิด ประสบการณ์ที่เลวกับตรายี่ห้อ และทำให้ตรายี่ห้อนั้นไม่แข็งแกร่งอีกต่อไป


ประการที่ 3: ขึ้นราคาโดยขาดกลยุทธ์ที่เหมาะสม

การที่จะขึ้นราคาสินค้าจะต้องคำนึงถึงเทคนิคของปรับราคา จะต้องมีเหตุผลอันสมควรและสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับทราบ เช่น มีการเปลี่ยนสูตร เปลี่ยนส่วนผสม ปรับบรรจุภัณฑ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น

ในการปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น ควรมีการส่งเสริมการขายควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ได้รู้สึกเสียดายเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาโดยเฉพาะมีเหตุผลอันสมควรจะต้องทำการสื่อสารการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภครับทราบด้วยการขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสินค้า

น้อยครั้งที่จะประสบความสำเร็จ และบ่อยครั้งที่พบคือทำให้ ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตรายี่ห้อ

ผู้บริโภคจะมีความรู้สึกถูกเอาเปรียบ และทำให้ความไว้วางใจในตรายี่ห้อนั้นลดลง

ประการที่ 4: ช่องทางการจัดจำหน่ายมีน้อยหรือไม่เหมาะสม

สินค้าบางประเภทจำกัดช่องทางการจัดจำหน่ายเพียงช่องทางเดียว เช่น เลือกวิธีการขายตรง ถ้าไม่มีคู่แข่งขันธุรกิจก็คงอยู่ได้ แต่ถ้ามีคู่แข่งขันจำนวนมาก และพนักงานขายมีจำกัดการเลือกวิธีขายตรงวิธีเดียวอาจจะไม่เหมาะสม

สินค้าที่เคยขายตรงจึงต้องพึ่งพาช่องทางการขายอื่นๆ ประกอบด้วย

ยาคูลท์ มิสทีน หรือ เอวอน ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าปลีก สินค้าที่วางตำแหน่งไว้ในระดับสูงต้องเลือกห้างสรรพสินค้าที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน เช่น เอ็มโพเรี่ยม โซโก้ เกษรพลาซ่า เป็นต้น จึงจะทำให้ตรายี่ห้อมีภาพลักษณ์ตามที่ได้สื่อสารออกไปยังผู้บริโภค


ประการที่ 5: นิยามคำว่าตรายี่ห้อแคบเกินไป

ตรายี่ห้อที่ดีต้องสามารถนำไปใช้ในการออกสินค้าใหม่ได้ (Brand extension)

นักการตลาดควรที่จะนิยามความสำคัญและคำมั่นสัญญาของตรายี่ห้อ (Brand promise) ในเชิงประโยชน์ที่มีต่อผู้บริโภคมากกว่าอธิบายถึงคุณลักษณะของสินค้า

เช่นถ้าเราผลิตการ์ดอวยพร แล้วเรานิยามว่า A เป็นการ์ดสำหรับแสดงความยินดี นิยามเช่นนี้เป็นการนิยามถึงคุณลักษณะของสินค้า

แต่ถ้าเรานิยาม ให้ A เป็นการ์ดสำหรับแสดงความรักในเพื่อนมนุษย์ แสดงถึงการเพิ่มโอกาสสำคัญๆ ที่จะให้การ์ดนอกจากวันที่ควรแสดงความยินดี วันที่แสดงความเห็นใจ เสียใจ ก็สามารถให้การ์ดได้

โตชิบานำส่งที่ดี สู่ชีวิต คือคำนิยามที่แสดงถึงประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับคือลูกค้าจะได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทใด ไม่จำกัดแค่เครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น การนิยามตรายี่ห้อถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ ทำให้การออกสินค้าใหม่ภายใต้ตรายี่ห้อเดิมทำได้ง่ายขึ้น

(มีความพยายามในการใช้ชื่อนกแก้วในสินค้าใหม่ๆ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ)

ประการที่ 6: ล้มเหลวในการนำตรายี่ห้อเดิมไปใช้กับสินค้าใหม่

ตรายี่ห้อบางยี่ห้อเคยเป็น ตรายี่ห้อที่เด่นดัง ระยะเวลาที่เปลี่ยนไป ผู้รับผิดชอบหลงไหลกับ ความดังจนลืมการพัฒนาตรายี่ห้อให้เข้ากับยุคสมัย และลืมตรวจสอบความนิยมจากผู้บริโภค ซึ่งอาจเสื่อมความนิยมไปแล้ว เนื่องจากมีตรายี่ห้อใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ตรายี่ห้อไม่แข็งแกร่ง แล้วยังนำไปใช้กับ สินค้าที่ออกใหม่ ลำพังตรายี่ห้อนั้นก็มิอาจจะอยู่ในตลาดได้แล้ว สินค้าใหม่ภายใต้ตรายี่ห้อที่มีปัญหาย่อมล้มเหลวไปด้วย เข้าตำรา เตี้ยอุ้มค่อม


ประการที่ 7: เปลี่ยนตำแหน่งของตรายี่ห้อและข้อความสื่อสารบ่อยเกินไป

ปัญหานี้เกิดจากปัญหาของการสื่อสาร นักการตลาดรุ่นใหม่ที่ชอบโชว์ผลงานด้วยการ เปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม

การเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ ชื่อติดตลาดแล้วเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง การเปลี่ยนแปลงต้องคำนึงถึงผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทบต่อยอดขายของสินค้า การเปลี่ยนตำแหน่งทำให้ต้องเปลี่ยนโปรแกรมการสื่อสารการตลาดด้วย

เช่น เปลี่ยนแคมเปญโฆษณา เปลี่ยนสโลแกน ซึ่งอาจทำให้เป็นผลเสียต่อยี่ห้อนั้นๆ เพราะผู้ซื้ออาจชอบคุณสมบัติเดิม หรือ การสื่อสารอาจเข้าไม่ถึงผู้บริโภค หรือเข้าถึงแต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจในคุณสมบัติใหม่นั้นได้

ดังนั้นการสื่อสารต้องทำอย่างต่อเนื่องด้วยแคมเปญที่ไม่ขัดกัน



ฮอลมาร์คใช้สโลแกน When you care enough to send the very best มาตั้งแต่คศ.1944 จนปัจจุบัน


จีอีใช้สโลแกน We bring good things to life มาตั้งแต่คศ.1979 เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์ หรือการสื่อสารจะต้องค่อยๆ ทำและต้องไม่ลืมทำวิจัยกับผู้บริโภคด้วย


ประการที่ 8: ตรายี่ห้อย่อย (Sub brand) ทำลายตรายี่ห้อหลัก

เมื่อตรายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคนอกจากจะใช้กลยุทธ์ขยายตรายี่ห้อ (Brand extension) คือ การนำตรายี่ห้อนั้นไปใช้กับสินค้าอื่นแล้ว

อีกกลยุทธ์หนึ่งที่นิยมทำกันก็คือออกยี่ห้อใหม่ แต่ใช้ยี่ห้อที่ติดตลาดแล้วควบคู่ไปด้วยเป็นการรับประกันยี่ห้อใหม่ที่ถือเสมือนเป็นยี่ห้อย่อย (Sub brand)

ตัวอย่างเช่น หมู่บ้านจัดสรร ABC เป็นหมู่บ้านที่ผู้บริโภคให้การยอมรับถึงแบบบ้านที่สวย คุณภาพ การก่อสร้าง และวัสดุที่ใช้อยู่ในเกรดดี ต่อมาบริษัทสร้างหมู่บ้านใหม่ ใช้ชื่อว่า XYZ และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วยข้อความว่า หนึ่งในโครงการ ABC เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในโครงการ XYZ แต่ถ้าโครงการ XYZ มีปัญหา เช่น คุณภาพของบ้านไม่ได้มาตรฐาน ผู้ซื้อไม่พอใจย่อมส่งผลเสียหายต่อโครงการ ABC ด้วย

ประการที่ 9: งบประมาณการสื่อสารการตลาดไม่เพียงพอ

การที่จะสื่อสารให้ผู้บริโภครักในตรายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งนั้นจะต้องใช้งบประมาณที่มากพอที่จะให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ด้วยความถี่ที่เหมาะสมพอที่จะทำให้ผู้บริโภคชอบสินค้ายี่ห้อนั้นได้

งบประมาณการสื่อสารที่ไม่เพียงพอย่อมทำให้ไม่สามารถเลือกวิธีการและสื่อที่เหมาะสมได้ โอกาสที่ตรายี่ห้อนั้นจะเกิดย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะการที่งบประมาณน้อยเกินไปจะทำให้ผู้บริโภครับทราบถึงคุณสมบัติของสินค้าอย่างช้าๆ ขาดความต่อเนื่อง ในขณะที่ข้อมูลข่าวสารของยี่ห้อคู่แข่งขันเข้าถึงผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ยี่ห้อของคู่แข่งขันย่อมเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ก่อน

ประการที่ 10:สื่อสารตรายี่ห้อด้วยวิธีการหลักๆ โดยลืมจุดติดต่ออื่น

การสื่อสารทางการตลาดสมัยใหม่ต้องคำนึงถึงการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร

ต้องคำนึงถึงจุดติดต่อ (Brand contact point)อื่นๆในการสื่อกับผู้บริโภคด้วย

ใหญ่เมื่อวางแผนโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือการตลาดทางตรงเสร็จแล้ว ก็จะพิจารณาสื่อหลักๆ เช่น ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สื่อกลางแจ้งต่างๆหรือไดเร็กเมล์

โดยลืมพิจารณาถึงสื่ออื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ ชุดพนักงาน การตกแต่งที่จุดขายและทุกๆอย่างที่ทำให้ผู้บริโภคเห็นหรือได้ยินแล้วระลึกถึงยี่ห้อนั้นๆ

ทำให้การทำงานของสื่อไม่ได้ผลอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น โรงแรม A เป็นโรงแรมที่วางตำแหน่งเป็นรีสอร์ทสำหรับพักผ่อนมีความเป็นธรรมชาติ นอกจากการโฆษณาทางสื่อหลักๆ ที่สะท้อนถึงความเป็นธรรมชาติแล้ว การตกแต่งห้อง โบร์ชัว อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์ทุกสิ่งที่ลูกค้าเห็น ตลอดจนชุดของพนักงานก็จะต้องสะท้อนถึงบุคลิกของโรงแรม ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างไม่สอดคล้องกัน บุคลิกของยี่ห้อก็ไม่เด่นชัดทำให้ตรายี่ห้อนั้นประสบผลสำเร็จได้ยาก

(อ่านเรื่องราวของ Brand contact point

เพิ่มเติมได้ที่ http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=5590)


ประการที่ 11:พยายามที่จะสื่อสารจุดขายหลายๆ จุดมากกว่าที่จะเน้น เหลือ 1 หรือ 2 จุดขาย

คนที่ไม่เข้าใจหลักของการสื่อสาร เช่น เจ้าของธุรกิจที่มีแนวคิดแบบดั้งเดิม ผู้ที่มิได้ศึกษา หรือ มีความรู้ทางการตลาดอย่างจริงจัง แต่ต้องรับผิดชอบยอดขายของสินค้า มักจะพยายามสื่อสาร คุณสมบัติทั้งหมดของสินค้าให้ผู้บริโภครับทราบแต่ด้วยข้อจำกัดของเวลาของสื่อ

เช่น หนังโฆษณา หรือสปอร์ตวิทยุมักทำกันด้วยความยาว 30 วินาที ถ้าโฆษณาสรรพคุณทุกอย่างของสินค้าทำให้ผู้บริโภคจำจุดเด่นจริงๆ ของสินค้าไม่ได้

นักการตลาดควรที่จะพิจารณาดูว่าในบรรดาสรรพคุณของสินค้าที่มีอยู่หลากหลาย มีสรรพคุณใดที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญจากคู่แข่ง แล้วกำหนดให้สรรพคุณนั้นเป็นจุดขายหลักและอาจจะมีจุดขายรองได้อีก 1 จุด มากกว่านั้นจะทำให้ผู้บริโภคจำความดีของสินค้าไม่ได้

ประการที่ 12:ตรายี่ห้อที่มีภาพลักษณ์ดีต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคม

ตรายี่ห้อที่มีภาพลักษณ์ดีอาจจะล้มเหลวได้ง่ายๆ ถ้าถูกต่อต้านจากกลุ่มที่เป็นผู้นำทางความคิดต่างๆ เช่น กลุ่มนักวิชาการ เอ็นจีโอ กลุ่มสิทธิมนุษย์ชน ประชาชนทั่วไป หรือแม้กระทั่งสื่อมวลชน

ดังนั้นตรายี่ห้อเหล่านี้จะต้อง ฉีดวัคซีนทางการตลาดด้วยการทำกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสังคม เพื่อทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี

เมื่อตรายี่ห้อนั้นๆ ถูก กล่าวหา ไม่ว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมจะเป็นเสมือนวัคซีนป้องกันมิให้ข้อกล่าวหาเหล่านั้นทำอันตรายได้ เพราะในกลุ่มคนที่มีพลังเหล่านั้นจะคอยปกป้องตรายี่ห้อนั้นไม่ให้เสียหายจากข้อกล่าวหา

จะเห็นว่าโครงการ แบรนด์ซัมเมอร์แค็มป์ เป็นโครงการที่ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา มีทัศนคติที่ดีต่อตรายี่ห้อนี้

โครงการ ถนนสีขาว ของโตโยต้าสร้างภาพพจน์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อยี่ห้อโตโยต้าในกลุ่มคนหลายๆ กลุ่ม เช่น นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ประชาชนและสื่อมวลชน

เมื่อยี่ห้อใดเป็นยี่ห้อที่มีภาพลักษณ์ดี ก็จะได้กลุ่มคนต่างๆ เป็นพวก เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้เข้าใจผิดในยี่ห้อนั้น กลุ่มคนเหล่านี้จะไม่รีบด่วนสรุปว่ายี่ห้อนั้นไม่ดีตามที่ถูกกล่าวหา และจะหาทางปกป้องยี่ห้อนั้นๆ ด้วย


niche market cartoons, niche market cartoon, niche market picture, niche market pictures, niche market image, niche market images, niche market illustration, niche market illustrations


ประการที่ 13:กำหนดตลาดเป้าหมายกว้างหรือแคบเกินไป

การกำหนดตลาดเป้าหมายกว้างเกินไปโดยเฉพาะใช้เกณฑ์ในการจัดกลุ่มลูกค้าเพียง 2 ปัจจัย

คือ ด้านสภาพภูมิศาสตร์และด้านประชากรศาสตร์นับว่า กว้างเกินไป ทำให้ยากแก่การกำหนดกลยุทธ์การตลาด โดยเฉพาะกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด

คนที่มีอายุเท่ากันแต่รสนิยม ต่างกันย่อมทำให้ความประทับใจในสินค้าหรือบริการแตกต่างกัน

ในทำนองตรงกันข้ามถ้ากำหนด กลุ่มเป้าหมายเจาะจงเกินไปจะต้องทำการคำนวณกำไรที่จะได้รับให้ละเอียด รอบคอบ การเจาะจงกลุ่ม

เป้าหมายถูกตามหลักการตลาดก็จริง แต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงหรือ Niche market จะได้กำไรก็ต่อเมื่อธุรกิจสามารถกำหนดราคาได้สูง

หรือโครงสร้างของต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ต้นทุนผันแปรซึ่งจะจ่ายก็ต่อเมื่อผลิตหรือขาย

ตลาดเป้าหมายที่กว้างเกินไปหรือแคบเกินไป ในการสร้างตรายี่ห้อจะต้องหมั่นตรวจสอบทางการตลาดเพื่อให้ทราบว่า ตรายี่ห้อของเราเป็นที่ชื่นชอบหรือไม่ ในตลาดกว้างเกินไป คู่แข่งเยอะ ในตลาดแคบเกินไปกำไรอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ยี่ห้อนั้นอยู่ได้


ประการที่ 14:ไม่เข้าใจผู้บริโภคอย่างถ่องแท้

ข้อนี้เป็นสาเหตุที่เป็นพื้นฐานที่ทุกคนตระหนัก แต่ในทางปฏิบัติการรู้จักผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ไม่ใช่เรื่องง่าย อุปสรรคสำคัญ 2 ประการ ที่เป็นสาเหตุให้ไม่สามารถรู้จักผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง คือ

ประการแรก ผู้บริหารไม่รู้ว่า อะไรคือข้อมูลเชิงลึก

ได้เคยกล่าวไว้หลายครั้งแล้วว่า ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยตลาด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถอธิบายถึง พฤติกรรมที่แท้จริง ของผู้บริโภคได้

ข้อมูลเชิงลึก คือ ข้อมูลที่แสดงถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งจะได้มาด้วยการเข้าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคที่แท้จริง เป็นข้อมูลที่ได้มาด้วยการ สังเกต

อีกประการหนึ่งคือ ไม่สามารถหาข้อมูลเชิงลึกได้ นั่นคือรู้ทั้งรู้ว่าข้อมูลเชิงลึกสำคัญ แต่มีปัญหาเรื่องเวลา งบประมาณ หรือความสามารถ ทำให้ต้องใช้ข้อมูลจากกการทำวิจัยบางส่วนใช้การเดาบางส่วนในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด ซึ่งถ้าเดาผิดก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ

ประการที่ 15:ไม่ประสบผลสำเร็จในการขยายตรายี่ห้อไปในภาพลักษณ์ที่สูงขึ้น

ฮอนด้า เป็นตัวอย่างที่ดีในการเลื่อนอันดับของภาพลักษณ์ของสินค้า

กลยุทธ์ที่สำคัญคือความ เข้าใจในการสร้างยี่ห้อเหมาะสมกับตลาดเป้าหมาย โดยเฉพาะการใช้ราคาเพื่อบ่งบอกคุณภาพของสินค้า การที่จะสร้าง ภาพลักษณ์ที่สูงส่ง ให้กับสินค้า

นักการตลาดต้องกล้าพอที่จะตั้งราคาให้สูงกว่าราคาตลาดของสินค้าประเภทเดียวกันแล้วใช้การสื่อสารการตลาด เป็นเครื่องมือที่จะบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ที่สูงส่งนั้น

เช่น บรรจุภัณฑ์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ที่ดูดีมีรสนิยม นอกจากนี้ช่องทางในการจัดจำหน่ายก็ต้องเสริมภาพลักษณ์ของตรายี่ห้อนั้นด้วย เช่นถ้าต้องการสร้างยี่ห้อของอาหารให้มีภาพลักษณ์สูงไม่จำเป็นต้องวางจำหน่ายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ต้องเลือกห้างสรรพสินค้าที่มีภาพลักษณ์ในระดับเดียวกัน


ประการที่ 16:เลือกหรือปล่อยให้ตรายี่ห้อกลายเป็น เจเนอริค

การตั้งชื่อสินค้าให้สามารถระลึกถึงประเภทของสินค้าเป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องระวังลูกค้าสับสน เพราะ คู่แข่งก็มักใช้กลยุทธ์เดียวกัน

ร้านตัดเสื้อที่มักมีคำว่า อาภรณ์

ร้านอาหารที่มักใช้คำว่า โภชนา

หรือร้านตัดผมที่มักมีคำว่า บาร์เบอร์

มีข้อดีที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นร้านค้าประเภทใด

แต่ต้องอย่าลืมว่าถ้ามีหลายๆร้านที่ใช้กลยุทธ์อย่างเดียวกันจะทำให้ผู้บริโภคสับสนได้ หรือสินค้าบางชนิดติดตลาดเป็นเวลานานจนทำให้ผู้บริโภคเรียกชื่อตรายี่ห้อเป็นชื่อของประเภทสินค้าหรือที่เรียกว่า เจเนอริคแบรนด์

คงได้ยินเรื่องเล่าว่า ผู้บริโภคไปตามหาซื้อ แฟ๊ปกล่องแดง ซึ่งหมายถึง บรีส กันแล้ว

นี่คือตัวอย่างของผลเสียของการที่ตรายี่ห้อเป็นเจเนอริค ดังนั้นเมื่อตรายี่ห้อโด่งดังมากจะต้องหาวิธีสร้างเอกลักษณ์ของตรายี่ห้อให้แตกต่างจากคู่แข่งด้วย


ประการที่ 17:กำหนดงบประมาณโดยให้ความสำคัญในการโฆษณาและส่งเสริมการขายมากกว่าการสร้างตรายี่ห้อ

เนื่องจากยอดขายมักถูกใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จของฝ่ายการตลาดนักการตลาดจึงต้องหากลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ขายได้ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การลดราคาหรือการทุ่มงบโฆษณา และหรือการทำการ ส่งเสริมการขาย ซึ่งมักจะได้ผล

แต่หลายๆครั้งการใช้ความพยายามในการส่งเสริมการขายและโฆษณา ทำให้นักการตลาดไม่มีเวลาและเหลืองบประมาณมากพอที่จะสร้างตรายี่ห้อให้อยู่ในหัวใจของผู้บริโภค

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้มาเพราะผู้บริโภคเห็นว่า คุ้มกับเงินที่จ่ายเพราะมักจะได้สินค้าในราคาพิเศษ หรือได้ของแถมถูกใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ลูกค้าก็จะหนีไปหาคู่แข่งขันที่เสนอราคาพิเศษกว่า แต่ถ้าลูกค้าซื้อเพราะ คุ้มค่ากับคุณภาพ จะเกิดจากความประทับใจในยี่ห้อนั้น ความมั่นคงในยี่ห้อจะมีมากกว่า


ประการที่ 18:ผู้รับผิดชอบในการสร้างตรายี่ห้อขาดความรู้ความสามารถ

ผู้รับผิดชอบในการสร้างตรายี่ห้อจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการตลาด และจะต้องปรับตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ

เพราะการสร้างตรายี่ห้อเป็นเรื่องที่ต้องรอบคอบและรู้จักใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจให้ถึงขบวนการในการทำงานของฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย บริษัทโฆษณาและขั้นตอนทางกฎหมายอาจเป็นอุปสรรคต่อการสร้างตรายี่ห้อ

ตัวอย่างเช่น การวางแผนโฆษณาจะต้องเข้าใจถึงขั้นตอนในการทำงานของบริษัทโฆษณากว่าจะออกมาเป็นโฆษณาที่ดีต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานของรัฐ เช่น สินค้าที่เป็น อาหาร ยา และเครื่องสำอางต้องผ่านการตรวจสอบข้อความโฆษณาต้องเข้าใจขั้นตอนและระยะเวลาใน การอนุมัติของ อย. ขั้นตอนในการผลิตสื่อ ขั้นตอนในการจองซื้อสื่อ เป็นต้น

ซึ่งความไม่รู้เรื่องการตลาดและความไม่เข้าใจในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำให้การสร้างตรายี่ห้อล้มเหลวได้

ประการที่ 19:ผู้บริหารไม่เข้าใจเรื่องการสร้างตรายี่ห้อ

ปัญหาที่นักการตลาดมืออาชีพมักพบบ่อยๆ คือ ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ ทั้งด้านกลยุทธ์ และงบประมาณโดยเฉพาะผู้บริหารที่เป็นเจ้าของกิจการมักกล้าลงทุนสร้างตึก หรือลงทุนซื้อเครื่องจักร แต่ไม่เห็นความสำคัญของการสร้างตรายี่ห้อ

ผู้บริหารที่ไม่เข้าใจเรื่องการสร้างตรายี่ห้อ มักจะต้องตัดสินใจผิดอยู่ 3 ประการ คือ

ประการแรก อนุมัติกลยุทธ์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่อนุมัติกลยุทธ์ที่เหมาะสม

ประการที่สอง กำหนดงบประมาณไม่เพียงพอที่จะสร้างตรายี่ห้อให้สำเร็จ

ประการที่สาม เลือกบุคลากรมาทำงานไม่เหมาะสม บางบริษัทเลือกคนที่ชำนาญด้านประชาสัมพันธ์โดยไม่เข้าใจหลักการของการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรมาดูแลด้านการสื่อสารการตลาด บางบริษัทเลือกฝ่ายขายที่เก่งเรื่องการขายแต่ไม่เก่งเรื่องการตลาดมาดูแลตรายี่ห้อ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้การสร้างตรายี่ห้อไม่ประสบผลสำเร็จ

การสร้างตรายี่ห้อจะต้องหมั่นตรวจสอบความแข็งแกร่งของยี่ห้ออยู่เสมอ ข้อมูลที่สำคัญที่จะใช้ตรวจสอบความแข็งแกร่ง คือ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคและคู่แข่งขัน

................................

19 ข้อดังกล่าวจะเป็น Check list ที่นักการตลาดใช้เป็นคู่มือในการระมัดระวังในการสร้างตรายี่ห้อ เพราะไหนๆ ก็ลงทุนกับมันแล้ว อย่าให้ ผู้บริหารที่กล้าลงทุนสร้างตึกและซื้อเครื่องจักรปรามาสได้ว่า การสร้างตรายี่ห้อไม่คุ้มกับการลงทุ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

คาราบาวแดงก้าวต่อไปจะแม่นยำหรือพลาดเป้า

ใครมาทีหลังอาจต้องพ่ายแพ้ให้กับความแข็งแกร่งของ ขาใหญ่ แต่นี่อาจจะใช้ไม่ได้กับ

คาราบาวแดง" ผู้มาทีหลัง แต่ไม่ด้อยกว่าใคร


นี่คือบทสรุปจากการสนทนากับ "แอ๊ด คาราบาว" หรือ ยืนยง โอภากุล และ เสถียร เศรษฐสิทธิ์

แห่งโรงเบียร์ เยอรมันตะวันแดง กลายเป็นจุดเริ่มของแบรนด์น้องใหม่เครื่องดื่มชูกำลังที่หากย้อนกลับไป

ณ เวลานั้น การก่อเกิดของ "คาราบาวแดง" เรียกเสียงฮือฮาให้กับวงการนี้มาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะการข้ามห้วยสู่โลกธุรกิจอย่างเต็มตัวของ แอ๊ด คาราบาว ควบด้วยตำแหน่งพรีเซ็นเตอร์ ยิ่งทำให้ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังมากมายด้วยสีสัน และสงครามด้านการตลาดอย่างเต็มรูปแบบ โฆษณาชุดแรก

"The Legendary fighter"


ความยาวกว่า ๒ นาที สร้างปรากฏการณ์ "กล่าวขวัญทั้งเมือง" ในช่วงปี ๒๕๔๕


และอีกหลายๆ ภาพยนตร์โฆษณาและแคมเปญทางการตลาดล้วนมีส่วนสร้างแบรนด์

คาราบาวแดง ให้ยืนระยะ และเติบโตไปพร้อมกับการขยายตัวของตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง

ในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด และ เต็มไปด้วยข้อจำกัดนานารูปแบบจากกฎข้อบังคับทางกฎหมาย และกำลังซื้อที่หดตัว


การสู้ในฐานะแบรนด์น้องใหม่ของคาราบาวแดงที่ผ่านมาเรียกว่า เทียบชั้น และ เท่าทัน

กับพี่ใหญ่ (กระทิงแดง / เอ็ม ๑๕๐) ในตลาด


มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง ที่เรียกว่าเป็นคัมภีร์การต่อสู้หลักทางการตลาดของเครื่องดื่มชูกำลัง

คราาบาวแดง ก็มี แอ๊ด คาราบาว เป็นแม่เหล็ก พร้อมสู้ศึกโรดโชว์ และคอนเสิร์

แทบจะทั่วทุกมุมเมืองมาแล้ว


นั่นเป็นการขยับตามเกมที่ผู้เล่นในตลาดเครื่องดื่มชูกำลังถนัด และฟาดฟันกันมาอย่างยาวนาน แต่ในขณะเดียวกันในฐานะน้องใหม่ คาราบาวแดง ก็ต้องเร่งผลักดันตัวเองให้โดดเด่น เป็นที่จดจำให้มากที่สุด

"สาวบาวแดง" กลไกที่แม่ทัพใหญ่คาราบาวแดงเชื่อว่า จะเป็นตัวทำแต้มสำคัญให้กับ


แบรนด์นี้ได้หลังเดินตามสูตร A-B-C-D อย่างครบเครื่องมาแล้ว

A- เป็นแอ๊ด คาราบาว ที่วันนี้ เป็นทั้งสัญลักษณ์ และแม่เหล็กทางการตลาด

B- การสร้างแบรนด์ที่ต่อยอดการรับรู้ และความแข็งแกร่งมาจาก แอ๊ด และ คาราบาว

C- คาราบาวแดง ซึ่งก็คือตัวโปรดักท์

D - ช่องทางจัดจำหน่ายที่แน่นปึ้กจาก เสริมสุข เน็ตเวิร์คการจัดส่งที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ


การจัดตั้งทีม "สาวบาวแดง" และหน่วยรถตู้ออกตระเวนตามร้านค้า และชุมชน ยังคงเป็นสิ่งที่

คารบาวแดงรักษาซึ่งความถี่ และความเข้มข้นของกิจกรรมมากว่า 3 ปี โดยเชื่อว่านี่จะเป็นไม้เด็ดที่ทำให้คาราบาวแดง เก็บเกี่ยวได้ทั้งกระแสนิยม และยอดขาย


กว่ายี่ห้อหนึ่งจะชนะอีกยี่ห้อหนึ่งต้องใช้เวลา ทีมที่ลงไปทำกิจกรรม ทำให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์จริงในการทดลองดื่ม สินค้าประเภทนี้ที่สุดแล้วต้องให้ลองชิม ลองดื่มบ่อยๆ เพื่อให้คุ้นลิ้นชินปาก ลองสังเกตร้านก๋วยเตี๋ยว ถ้ามีอีกร้านมาเปิดใกล้ และอร่อยกว่า ร้านเดิมเตรียมแย่ไปได้เลย กรณีเครื่องดื่มชูกำลังก็เช่นกัน

หลายปีมานี้คาราบาวแดง ใช้เวลาสั่งสมทีมงานโดยเฉพาะ "สาวบาวแดง" กว่า 300 ชีวิต เป็นทีมที่

น่าจะเป็นทีมที่ใหญ่สุดในไทย


กว่าจะสั่งสมคนขึ้นมาได้ขนาดนี้ และกว่าที่แต่ละคนจะมีประสบการณ์ กว่าจะมีระบบควบคุมบริหารจัดการ

ที่ถูกต้องแม่นยำ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา จากนี้เชื่อว่า สิ่งที่ทุ่มทุนแรง และเงิน จะเริ่มผลิดอกออกผล

โดยเฉพาะในช่วง ๒-๓ปีข้างหน้า


ความพยายามสะสมความนิยม และ ดึงเรทติ้งยอดขายกระจายไปทุกจุดทั่วประเทศ เรียกว่า

ดำเนินการเป็นกองรบที่ค่อยๆ แทรกซึม พร้อมๆ กับบูมแคมเปญใหญ่เฉลี่ย๑-๒ ปีครั้ง พิสูจน์แล้วว่า

คาราบาวแดงสร้างแบรนด์นี้มาถูกทาง จากผลงานที่ถือว่าก้าวมาได้มากกว่าเป้าหมาย

ยอดส่งออกต่างประเทศหลัก 700-800 ล้านบาท กับส่วนแบ่งตลาดกว่าสิบเปอร์เซ็นต์

ยอดขายกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาทจากตลาดรวม ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว

กับคาราบาวแดง


แต่สำหรับ ๒-๓ ปีข้างหน้าเราน่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลง....อีกครั้ง!


จากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คาราบ่าวแดง (เริ่ม) แม่นยำในการทำตลาด

ต้องยอมรับหลายปีมานี้คราบาวแดงลองผิดลองถูกมาตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจเช่นใด

ตั้งแต่ต้นปี (2552) ทุกคนรับผลกระทบกันทั่วโลก พอครึ่งปีหลัง (2552) คาราบาวแดงกลับดึงยอดขาย

กลับมาได้ อย่างเหลือเชื่อ


ความนิยมที่มีต่อแบรนด์ คาราบาวแดง เปรียบเป็นทุนที่สั่งสมมายาวนานตลอด ๗ ปีที่ผ่านมา

"สาวบาวแดง" เสมือนกองทัพมดที่แทรกซึม ทำงาน แบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

มิวสิคมาร์เก็ต กลไกที่ยังเดินเครื่องไม่หยุดหย่อนผ่าน แอ๊ด คาราบาว

และที่สำคัญ ทีมงานที่แข็งแกร่งขึ้นจากประสบการณ์จริง สร้างความมั่นใจอย่างมาก


วิเคราะห์ในเชิงของธุรกิจแล้ว คาราบาวแดงต้องการอีกหนึ่งก้าวกระโดดใหญ่ๆ ที่ทำให้เกิดการพลิกผัน
เหมือนที่เราเห็น สิงห์ ชนกับช้าง คนที่เล่นอยู่ในเกมจะรู้ว่าวันหนึ่งจะมี Turning Point อยู่
ซึ่งถ้าใครเดินไปถึงตรงนั้นได้ วันนั้นจะชนะ และ 2-3 ปีข้างหน้าคิดว่านั่นจะเป็น Turning Point
สำคัญของคาราบาวแดง

เกมของคาราบาวแดง เริ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มนับหนึ่ง มีเป้าหมายคือการล้มแชมป์

ยังเป็นเป้าหมายระยะไกลที่แม่ทัพใหญ่ คาราบาวแดง ต้องแสดงฝีมือ

งานนี้ถ้าอ่านเกมถูกเท่ากับ คาราบาวแดง กำลังวางแผนสร้างปรากฏการณ์ใหม่ แต่หาก เดินเกมผิด

เห็นทีคงต้องเหนื่อยกันอีกยก


แ ว ะ ช มโ ฆ ษ ณ า ดี ดี กั น สั ก เ รื่ อ ง