วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เติมสมอง...ด้วยความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์

ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์


ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค







บรยายภาพ มนุษย์ถ้ำ (Cavemen) เริ่มใช้หนังสัตว์มาห่อหุ่มร่างกาย ถือได้ว่าเป็นหลักการของบรรจุภัณฑ์ในยุคแรก




Animal skins  Animal Skins Vector



หนังสัตว์ประเภทต่าง ๆ (animal skins) เป็นหนึ่งในวัสดุประเภท Raw Materials ที่มนุษย์เริ่มนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์




cavemen fashion cartoons, cavemen fashion cartoon, cavemen fashion picture, cavemen fashion pictures, cavemen fashion image, cavemen fashion images, cavemen fashion illustration, cavemen fashion illustrations



ภาพการ์ตูน ที่แสดงให้เห็นว่า “การห่อหุ้ม” ที่เป็นหลักการในอดีตเปลี่ยนไปเป็น “ห่อให้งาม”





การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้


ในราว ค . ศ . 1200 รูปแบบของการบรรจุภัณฑ์ ที่ปรากฏเป็นหลักฐาน ได้แก่


































วัสด[ุMaterials]


รูปแบบและการใช้ [Package Form And Use]


หนัง[Leather]


การห่อ พับเป็น กระเป๋า ถุง


ผ้า [Cloth]


การห่อ พับเป็น ถุง กระสอบ


ไม้ [Wood]


ถังไม้ หีบ ไม้ ลัง กำปั่น


วัชพืชหรือผลิตภัณฑ์จากไม้[Grass/Split Wood]


ตะกร้า เสื่อ สิ่งทอ


หิน [Stone]


กาน้ำ คณโฑ


ดิน [Earthenware]


หม้อ ถ้วยชาม ฯลฯ


โลหะ [Metal]


หม้อ ถ้วยชาม กาน้ำ


แก้ว [Glass]


แก้วน้ำ ขวด ชาม คณโฑ


ในสมัยต่อมา เมื่อมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องกลโรงงานต่าง ๆ ถูกคิดค้นพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม









การนำ วัสดุหนัง มาใช้ประโยชน์ทางการค้า


Concept Japanese wrapping cloth package Japan (4034-52336 / C831-002116N © JTB Photo)


Concept Japanese wrapping cloth package Japan (4034-52336 / C831-002116N © JTB Photo)



การนำ วัสดุผ้า มาใช้ประโยชน์ทางการค้า




1


การนำ วัสดุไม้ มาใช้ประโยชน์ทางการค้า




พื่อไม่ให้เป็นการน่าเบื่อจนเกินไปนัก ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์จากวัสดุอื่น ๆ เช่น ผ้า หิน ดิน โลหะ แก้ว โปรดไปติดตามรายละเอียดในชั้นเรียน (โอเคนะ)





ในสมัยต่อมา เมื่อมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องกลโรงงานต่าง ๆ ถูกคิดค้นพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 17 ทำให้ระบบการผลิตกลายเป็นการผลิตแบบขนานใหญ่ (Mass Production) และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนองความสะดวกสบายต่อการขนส่งสินค้า ความต้องการด้านความปลอดภัย ความรวดเร็ว ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ


และความต้องการความหลากหลายของสินค้า ฯลฯ จึงทำให้เกิดการตรากฎหมาย (Legislation) หน่วยบรรจุภัณฑ์ (Unit Packaging) ตราสินค้า (Brand Identification) และการโฆษณา (Advertising)


- มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ผลิตเคารพในกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดบริสุทธิ์และถูกต้องตามหลักสุขภาพอนามัย (Respect to Sanitation and Purity) ไม่ปิดป้ายฉลาก หลอกลวงผู้บริโภคเกินความจริง


- หน่วยบรรจุ เกิดขึ้นเพราะให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า


- ตราฉลากสินค้าหรือยี่ห้อผลิตภัณฑ์ เริ่มมีความสำคัญเพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตามคุณภาพได้


- ผู้บริโภคมีความรู้และประสบการณ์หลายด้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเลือกการบริโภคอย่างแพร่หลาย โดยผ่านวิธีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์


ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์ (Package) เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนพนักงานขายมีความสำคัญมากในฐานะ ตัวแสดงสินค้า ” (The Representation Of Product) ที่ต้องการแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงเนื้อในหรือเนื้อหา (Content) ของสินค้าด้วยการให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าบนหีบห่อ โดยใช้เทคนิควิธีการออกแบบสมัยใหม่ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้


ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจึงมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุ ความเร็ว ความเข้าใจด้านศิลปะ และกราฟิกดีไซน์


ด้วยเหตุและปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นผลให้เกิดอาชีพเฉพาะขึ้นในวงการอุตสาหกรรม คือ อาชีพนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designer) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพใหม่ที่มีความสำคัญต่อวงการธุรกิจการค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงเป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับคนหลายวงการ หลายอาชีพ และหลายวิทยาการ (Multidiscipline Profession) กล่าวคือ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องศึกษาหาความรู้หลายด้าน เนื่องจากผู้บริโภคอยู่ในสภาวะการเป็น นักซื้อในระบบจำหน่ายสมัยใหม่ กล่าวคือ ในซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีสินค้าวางขายอยู่เป็นนับพันประเภท แต่ละประเภทจะมีสินค้าที่เป็นคู่แข่งขันวางขายกันเป็นสิบเพื่อการเปรียบเทียบ เลือกซื้อ ภายใต้สภาวะการขาย เช่นนี้ ผู้ซื้อจะใช้เวลาประมาณเศษ 2 ใน 3 ของเวลาที่อยู่ในร้านเดินจากสินค้าประเภทหนึ่ง ไปยังสินค้าอีกประเภทหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ซื้อโดยเฉลี่ย ใช้เวลา 10 – 15 นาที ในการเลือกซื้อสินค้า


และสมมติว่าโดยเฉลี่ยผู้ซื้อแต่ละคนจะซื้อสินค้าประมาณ 12 ชิ้น นั่นก็หมายความว่า เวลาที่ใช้ในการตัดสินใจ เลือกซื้อสินค้านั้นมีเวลาเพียง 1 นาที ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า จะแปรเปลี่ยนไปแล้วแต่ประเภทของสินค้า สินค้าบางชนิด เช่น ไข่ หมู ไก่ อาจใช้เวลาเลือกนาน กล่าวคือใช้เวลาประมาณ 20 – 50 วินาที ในขณะที่สินค้าบางชนิด เช่น ข้าว น้ำอัดลม เป็นต้น จะใช้เวลาน้อยเพียงแค่ 10 วินาที


จากปรากฏการณ์นี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า ในยุคนี้ผู้ซื้อใช้เวลาน้อยมาก ณ จุดขายในขณะที่มี สินค้าให้เลือกมากมาย ด้วยเหตุนี้ บรรจุภัณฑ์ในยุคนี้จึงจำเป็นต้องออกแบบ ให้ได้รับความสนใจอย่างเร่งรีบ โดยมีเวลาผ่านตาบนหิ้งในช่วงเวลา 10 – 50 วินาทีที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ ลูกค้าเพื่อตัดสินใจซื้อและวางลงในรถเข็น บทบาทของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวนี้


เป็นบทบาททางด้านการตลาดในปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ




วันนี้เติมสมองด้วยทฤษฏีเพียงเท่านี้ก่อน ... เรื่องต่อไป คือ วิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์


ดร.วรัตต์ อินทสระ


(พฤษภาคม ๒๕๕๔ วันเงินเดือนออก)









วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มาหลอกให้อยากแล้วก็จากไป (เกริ่นนำก่อนเปิดเทอม ตอน๒)

เกริ่นนำกันไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าของบล๊อกดีใจ๊ดีใจ ^___________^
ที่ยอดการคลิ๊กเข้ามาดู เพิ่มเอา ๆ จากแค่ห้าพันกว่าๆ กลายมาเป็น หกพันกลาง ๆ
อย่างเหลือเชื่อ

นี่ถ้ายุบสภาคราวหน้า แล้วลงสมัครรับเลือกตั้ง คะแนนนิยมพุ่งพรวด ๆ ขนาดนี้
ตำแหน่งคนขับรถรัฐมนตรีคงไม่รอดเงื้อมมือไปได้ (ฮา....(มั้ย)...)

วันนี้จะขอพานักศึกษาไปเที่ยวต่างประเทศ เช่น เดนมาร์ก ญี่ปุ่น แคนาดา อเมริกา
พาไปลุยธารน้ำแข็ง พาไปปีนภูเขาไฟ

ด้วยงบประมาณแค่หกแสนล้านก่อนยุบสภาแค่วันเดียว (หง่ะ...วนเข้ามาจนได้)

และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา จึงขอสรุปสั้น ๆ ให้ได้ใจความว่า
สาระของบรรจุภัณฑ์จริงๆแล้วมีแค่ ๒ ข้อ คือ

๑.เพื่อรักษาสินค้าในบรรจุภัณฑ์ และ
๒.สร้างมูลค่าเพิ่มให้บรรจุภัณฑ์

เอาล่ะนะ....เป็นงานเป็นการสักที

"โดยปกติแล้วการทำโฆษณาสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะประเภทที่ผู้ซื้อต้องใช้ "อารมณ์" (Emotion)
ในการตัดสินใจซื้อ เอ้า....นักศึกษาลองตอบสิว่ามีสินค้าประเภทไหนบ้าง?

มีเสียงแปร๋นขึ้นมาบอกว่าว่า "ถุงยาง"

เอิ่ม..... - - "

คำตอบนี้เกินความคาดหมายไปมาก

แต่ก็ไม่หลงเหลี่ยมเด็กยุคใหม่พากลับเข้าเนื้อหาทันที - - "

"การตัดสินใจซื้อมันขึ้นอยู่กับอารมณ์กับเหตุผล อยู่ที่ว่าส่วนไหนจะมาก่อน
อย่างรถยนต์นี่ใช้เหตุผล อารมณ์ตามมานิด ๆ .... บ้านก็เหมือนกัน
เพราะราคาแพงและต้องแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ จำนวนมาก

แต่ถ้าจะซื้อกูลิโกะป๊อกกี้กินสักกล่อง
คงไม่ถึงขนาดหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ถามเพื่อน ถามที่บ้านว่ารสไหนอร่อย
อยากกินก็ซื้อเลย"


สินค้าประเภทที่ใช้อารมณ์ซื้ออย่าง น้ำหอม / เครื่องสำอาง นักโฆษณาชอบที่จะใช้
ความสวยงามของการถ่ายภาพ มาเป็นจุดขาย ซึ่งหมายความว่า ข้อความโฆษณาคุณสมบัติ
ของสินค้า (แทบจะ) ไม่จำเป็น

ตรงนี้หล่ะ..ที่พลังอันมหาศาลของ "สิ่งห่อหุ้ม" จะเกิดขึ้นในความรู้สึกของผู้ซื้ออย่างมาก
เป็นมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าธรรมดา ๆ อย่างที่นึกไม่ถึง

สินค้าบางอย่างสุดแสนจะธรรมดา มองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็นความแตกต่าง
หรือแม้แต่กระทั่งท้าให้ทดลองดื่ม ก็ไม่อาจแยกความต่างได้ง่ายๆ
สินค้าประเภทนี้มีความเหมือนกันจนผู้บริโภคไม่สามารถจะแยกความ "แตกต่าง" ใด ๆ ได้เลย

เช่น

"น้ำดื่มธรรมดา ๆ ขวดหนึ่ง"

คุณลักษณะของสินค้าประเภทนี้ นักโฆษณาคิดแล้วคิดอีกก็ได้แค่

สะอาด
บริสุทธิ์
ผ่านรังสียูวี
เพิ่มโอโซน

มีอะไรอีกมั้ย........................(โปรดเติมคำในช่องว่าง)

ดังนั้น หน้าที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ VAT) ของบรรจุภัณฑ์
จะเริ่มทำงานทันที


การเกริ่นนำก่อนเข้าบทเรียน ครั้งที่ ๒ นี้ จะพานักศึกษาไปเปิดโลกทัศน์ด้าน
บรรจุภัณฑ์ให้เห็นกันจะ จะ ลูก กะ ตา ว่าอะไรคือ "ความหมายที่ลึกซึ้งของคำว่า"

Packaging is Advertising

น้ำดื่มจากเดนมาร์ก ญี่ปุ่น เนเธอแลนด์ อเมริกา แคนาดา ฯลฯ จะสู่สายตานักศึกษา ณ บัดนี้

(ปล.ส่วนสาระสำคัญ ของการเกริ่นนำก่อนเปิดเทอม ครั้งที่ ๒ จะถูกนำไปเฉลยในชั้นเรียน
อย่าพลาดการเข้าเรียนนะครับ มิฉะนั้น .......พรุ่งนี้ คุณ จะ คุย กับ เค้า ไม่ รู้ เรื่อง.....



ISKILDE น้ำดื่มจากแดนโคนมเดนมาร์ก

เป็นน้ำแร่ที่เพิ่งค้นพบใหม่ที่ เขตสงวน Messo ซึ่งแน่ลjะมันสะอาดและบริสุทธิ์มาก
วิธีการได้น้ำขวดนี้มาต้องเจาะลงไปใต้ดิน 50 เมตร คล้ายน้ำแร่ยี่ห้อหนึ่งของไทย
เป็นน้ำแร่ที่เหมาะจะใช้กินร่วมกับเสต็ก
บรรจุ 1 ลิตร ISKILDE ลิตรละ ....... บาท (รอเฉลยในห้อง ^_____^)


Fine น้ำดื่มจากญี่ปุ่น

น้ำดื่มขวดนี้เหมาะสำหรับอาหารประเภท ซูชิรสชาติออกหวานนิด ๆ
สูบมาจากใต้ภูเขาไฟฟูจิ 600 เมตร โดยแหล่งน้ำนี้จะมีบางส่วนเป็นน้ำพุร้อนอีกด้วย
ในน้ำขวดนี้อุดมไปด้วย ซิลิกา ซึ่งช่วยเรื่องความงามของ ผม เล็บ
และช่วยร่างกายสร้างคลอลาเจนชะลอความแก่ชราด้วย
ราคาลิตรละ ......... บาท (รอเฉลยในห้อง ^_____^)


ogowater
OGO น้ำดื่มจากเนเธอแลนด์

เจ้าขวดกลมๆนี้ มันมาจากเนเธอแลนด์ ที่นี้ยังมีแหล่งน้ำพุ Prise d'eau

น้ำดื่มนี้ได้รับการรับรองว่ามีปริมาณ ออกซิเจนตามธรรมชาติสูงมากกว่าน้ำดื่มทั่วไป

ดื่มแล้วให้ความสดซื่น OGO มาจากคำว่า Oxigen To Go

ราคาลิตรละ .......... บาท (รอเฉลยในห้อง ^_____^)


<center>The World's Strangest Souvenirs</center>

Malola น้ำดื่มจากฮาวาย สหรัฐอเมริกา

หลายคนอาจพอรู้แหล่งกำเนิดจากชื่อแล้ว ขวดนี้มาจาก ฮาวาย อเมริกา

แต่ความเด่นของน้ำนี้เป็นน้ำจืดจากใต้ทะเล (ย้ำใต้ทะเลไม่ใช่ใต้ดิน)

น้ำชนิดนี้เกิดจากภูเขาน้ำแข็งที่ละลายตัวลงไปในทะเล แล้วด้วยความหนาแน่นที่ต่างกันมาก

น้ำจืดจะไม่ปนกับน้ำทะเลแต่นอนก้นอยู่ใต้ทะเลแทน นั้นละที่มาของมัน (ซับซ้อนสุดๆ)

ราคาลิตรละ ......... บาท (รอเฉลยในห้อง ^_____^)



Berg น้ำดื่มจากประเทศแคนาดา

น้ำขวดนี้มาจากประเทศแคนาดา มาจากธารน้ำแข็งโบราณที่กรีนแลนด์แตกตัว

แล้วลอยข้ามมหาสมุทรมาให้ทางแคนนาดาละลายใส่ขวด ธารน้ำแข็งแห่งนี้อายุถึง 15,000 ปี

และต้องไปสกัดตอนยังไม่เกยฝั่งซึ่งยากมาก ราคาลิตรละ .......... บาท (รอเฉลยในห้อง ^_____^)


..................................


เอาล่ะ ๆ ทิ้งไว้ให้ดูให้อยากแล้วก็จะจากไป เพราะยังเหลือน้ำดื่มที่มีแหล่งที่มาแปลกๆ

และ "บรรจุภัณฑ์สวยๆ" ให้เห็นอีก ๕ ขวดเต็ม ๆ นกศึกษาคนไหนอยากรู้ว่า

แต่ละขวดราคาเท่าไหร่....มีแหล่งที่มาอย่างไร......และที่สุดแล้วสาระสำคัญของการได้เรียนรู้

กรณีศึกษาจาก "น้ำ" ธรรมดา ๆ บทนี้จะสิ้นสุดลงที่ไหน

อย่าพลาดเข้าชั้นเรียน


^_____^

ดร.วรัตต์ อินทสระ
หลอกให้อยาก (รู้) แล้วจากไป


วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เกริ่นนำก่อนเปิดเทอม

ปิดเทอมกันไปนานนะครับ...เวลานานขนาดนี้บางคนเลิกกับแฟนไปมีแฟนใหม่

บางคนน้ำหนักเพิ่ม สามกิโลกหกกิโล สร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเอง ก่อนถึงตลาด (ฮา...)

ถ้ายังจำกันได้ หลายครั้งในชั้นเรียน เคยบอกว่า
"สมองเหมือนดินสอต้องเหลาถึงจะแหลม"

หวังว่านักศึกษาคงพยายามเหลากันอยู่บ้าง

เทอมนี้เปิดเรียน ๑๓ มิุนายน ๒๕๕๔ แต่มหาวิทยาลัยเปิดให้ลงทะเบียน
๑๖ มิถุนายน หลังวันเปิดเทอม ๓ วัน

จะฮาก็ฮาไม่ออก จะร้องไห้ก็ไร้น้ำตา ให้ถือเสียว่า "โลกนี้มันไม่มีอะไรแน่นอน"

พวกที่คิดว่าจะตกแต่ผ่านก็มีเยอะ พวกที่คิดว่าจะได้ A แต่พลาดได้ B+ ก็มีไม่น้อย (ฮา...)

.............................

บล๊อกนี้จะเริ่มต้นทะยอยส่งข้อมูลเรื่อง "การสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์" ลงไปก่อน
ส่วน "การสร้างสรรค์งานโฆษณา" จะตามมาติด ๆ
พวกที่เคยเป็นศิษย์เป็นครูกันมาก่อนน่าจะจับทาง วิธีการเรียนการสอนได้

คือ ยังคงแนวคิดไม่เน้นปริมาณแต่เน้นคุณภาพ

เปรียบเทียบชัด ๆ คือ "ไม่เน้นเรยาแต่เน้นคุณดี๋"

จะถล่มเกรด A กันทั้งห้องก็ไม่ว่า แต่ก็สามารถพลิกกลับเป็น I ทั้งห้องได้เช่นกัน

วิชาที่สอนไม่ง่ายเหมือน วิชาเลี้ยงปลาทอง เพราะฉะนั้น นอกจากคุณภาพงานที่ดีแล้ว
ยังต้องแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของนักศึกษาด้วย

.................................

วันนี้แวะมาทักทาย พร้อมกับปล่อย "ปกหนังสือ" มาเป็นน้ำจิ้ม
อาหารหลักจะเริ่ม ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔

เริ่มเรียนกันล่วงหน้าเลย...ไม่ต้องรอลงทะเบียน (ฮา...) ก็ เพราะห้องเรียนของเรากว้างกว้าที่อื่น

ดร.วรัตต์ อินทสระ
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔