วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555




เพื่อให้เข้าใจว่า..ทำไม? ต้องส่งบทความโต้แย้งนี้ในเวทีสาธารณะ  เป็นเพราะจากอนุสนธิจากบทความเรื่อง “พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็นพ่อของประชาชน” เผยแพร่ในเวปไซต์ประชาไท http://prachatai.com/journal/2011/12/38111เมื่อวันพฤหัสเวลา ๐๑.๐๐ เศษๆ บวกกับทวีตเตอร์ @PravitR  ซึ่งขอยกมาบางข้อความ เช่น

@PravitR: กว่า 50 ปีของข้อมูลด้าน 'ดี' ด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันฯ คงทำให้คนจำนวนหนึ่งเกิดอาการมึนชาทางสมองเรื้อรัง

@PravitR: คนไม่ใช่ควาย จะได้มานั่งยัดเยียดข้อมูลด้านเดียว ด้านเดียว ทุกวัน -แม้แต่ควายก็คงไม่ยอมทน #ม112

@PravitR: คนไม่ใช่ควาย จะได้ทนกับข้อมูลด้านเดียวไปจนวันตาย -แม้ควายยังสมควรได้ข้อมูลหลากหลายเกี่ยวกับเจ้านายมัน #ม112

จะสังเกตเห็นว่าการติกแท็ก ๑๑๒ ตอนท้ายความคิดเห็นนั้น คือ แนวคิดมุ่งไปสู่ประเด็นกฎหมายมาตรา ๑๑๒ โดยชัดเจน และเพื่อให้เกิดข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะอ่าน “ความโต้แย้ง”  ขอให้ลองติดตามอ่าน ทวีตเตอร์ @PravitR  เป็นภาคผนวกไปด้วย

หลังจากนั้นจึงค่อยกลับมาละเลียดความเห็นโต้แย้งนี้อีกครั้ง


(๑)ประวัติศาสตร์การรบ
ประวัติศาสตร์ของหลายประเทศในโลก มีเรื่องราวให้น่าศึกษามากมาย ถ้าศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์ก็จะพบวิถีของการสงครามเป็นส่วนใหญ่  เมื่อหมดสงคราม—อิทธิพลของระบอบการปกครองทั้งประชาธิปไตยทั้งเผด็จการก็แผ่เข้ามาสมทบรวมกับโลกาภิวัตน์  ซึ่งเรื่องนี้พื้นฐานคือการปฏิวัติข้อมูลด้านข่าวสาร

เมื่อโลกก้าวมาถึงจุดนี้  วัฒนธรรมของหลายชาติจึงจำเป็น จำยอม หรือพร้อมใจเปลี่ยน  ขอยกตัวอย่างง่ายๆ  จากเพลงปลุกใจให้รักชาติกลายมาเป็นเพลงกรุ๊งกริ๊ง แบบจิงเกิ้ลโฆษณา  จากสงครามกู้ชาติเปลี่ยนมาเป็นสงครามการสร้างตราสินค้า (Brand)

มองมุมนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว --ถ้าประชาชนในชาติ ไม่มองย้อนไปถึงที่มาของความเป็นชาติ ที่กว่าจะรวบรวมได้เป็นปึกแผ่นเช่นวันนี้  แล้วหลงทิศไปมีแนวคิดอ้างอิงตะวันตก จากการชี้นำของนักเรียนหัวนอก กลับบ้านเพื่อปฏิเสธอาณาจักรและทำตัวเป็นเจ้าอาณาจักรเสียเอง  ด้วยเชื่อกันว่าระบบแบบตะวันตกนั้นเหนือกว่า  โดยเฉพาะคำว่า “เสรี”

เศรษฐกิจเสรี การค้าเสรี สื่อเสรี หรืออะไรก็ตามที่กล่าวอ้างถึงความเสรี  โดยเนื้อแท้แล้วมันไม่ได้เกิดขึ้นจริง มันเป็นการแปลงร่างของนายทุนที่ก้าวเข้ามา “ผูกขาด” ทางเศรษฐกิจ  ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการในพัฒนาระบบทุนนิยม  ระบบนี้เข้ามาหาประโยชน์และพยายามเปลี่ยนแปลงกลไกความคิดของชนชั้นที่ต่ำกว่า  เอาประโยชน์จากแรงงาน  เอาประโยชน์จากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ และสุดท้ายจะมาเอาประโยชน์จากรากเหง้าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชาติ ด้วยพลังของทุน เทคโนโลยีและสื่อมวลชน


(๒) เกมล่าเหยื่อ
วันนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการสร้าง เกมล่าเหยื่อ (นายทุนàประชาชนผู้ยากจน) สมการนี้มีสมมติฐานมาจากความเป็นสัตว์เศรษฐกิจของมนุษย์  คือต่อสู้เพื่ออำนาจ  ลงแข่งขัน  มีผลแพ้ชนะที่เกิดจากกิเลสของประชาชน  ถ้าระบบทุนนิยมชนะก็เดินบนเส้นทางที่เรียกว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  โดยปักป้ายวาทกรรม วิสัยทัศน์ใหม่  คิดใหม่ ทำใหม่ ซึ่งคนที่สร้างวาทกรรมนี้ยังแอบซุกตัวอยู่ในมายาที่แปลกปลอมในสังคม

หลายประเทศที่เจริญแล้ว ใช้วัฒนธรรมนำหน้าเศรษฐกิจ นำหน้าการเมือง หลายประเทศไม่ต้องมีกระทรวงวัฒนธรรม (ยกเว้นประเทศฝรั่งเศสที่มีกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อเป็นแว่นสายตาสำหรับการดู “เมืองขึ้น”)
ความแตกแยกของสังคมไทยวันนี้โดยเฉพาะความติดที่จะแยกกษัตริย์กับประชาชน  ขอให้มองไปที่ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตลอดระยะเวลา ๔๐-๕๐ ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนพวกนี้สร้างความเสื่อมถอยให้กับประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชุมชน สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา รวมไปถึงระบบสังคมและวัฒนธรรม  เพราะคนพวกนี้ยอมตามความคิดนายทุนทั้งต่างชาติและนายทุนในประเทศ  ใช้ศาสตร์ที่ร่ำเรียนมาจากเมืองนอก “แปลงคนให้เป็นบริวาร” โดยไม่มองย้อนไปที่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่เข้าใจมิติทางสังคม และไม่นำพาต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย

แต่หลังจากที่ตกเป็นอาณานิคมทางปัญญามานาน คนกลุ่มนี้แก้ตัวด้วยการทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ เชื่อมกับฉบับที่ ๙ โดยใช้”คน”เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและยึดหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหัวใจ แล้วจึงย่อยเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร การพัฒนา และเป็นวิถีนำทาง

ถ้ามีใครถามว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร? ขอตอบอย่างง่ายและสั้นว่า เป็นต้นทุนทางสังคมที่ยืนคนละฟากกับทุนนิยม


(๓) หลังปฐมบรมราชโองการ  
“เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ในหลวงไม่เคยมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างแท้จริงเลย  พระราชอำนาจทั่วไป พระราชอำนาจพิเศษ พระราชอำนาจสำรอง ถูกชนชั้นปกครองบดบังไปจนสิ้น ในหลวงยอมอยู่ภายใต้กฎหมายทุกฉบับอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าใครหน้าไหนจะเป็นผู้ออกกฎหมาย ทรงอดทนรอคอยจนวินาทีสุดท้ายที่จะกอบกู้บ้านเมืองในยามวิกฤติ เนื่องจากการละเว้นในหน้าที่ของคนอื่น
พระเจ้าอยู่หัวถึงแม้จะเป็นกษัตริย์ แต่ไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ปกครอง  ผู้ปกครองของประเทศนี้ คือ ทหารและนักการเมืองที่ผลัดกันขึ้นมาครองอำนาจ ทุกยุคทุกสมัยที่ชนชั้นปกครองขึ้นมามีอำนาจ ก็ใช้อำนาจโดยขาดปัญญา ทะเยอทะยานและเห็นแก่ความยิ่งใหญ่ของตนเองและพวกพ้อง

เพียงแค่แนวคิด “พอเพียง” ของในหลวงในยุคสมัยที่เรากำลังถูกล่าจากนายทุนหน้าเหลี่ยมและพวกพ้องทุกวันนี้ “คิดให้ลึกให้ซึ้ง” ก็เพียงพอต่อการยืนอยู่ข้างรักษาองค์พระมหากษัตริย์ตลอดไป  เพียงพอต่อการนับถือว่าในหลวงคือพ่อของแผ่นดินนี้  มิพักต้องย้อนกลับไปถึงพระราชกรณียกิจอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชน
เราระลึกถึงโดยไม่จำเป็นต้องหวั่นไหวกับประโยคตีกินเป็นแผ่นเสียงตกร่อง ว่าพวกมึงรับข้อมูลด้านเดียว
และประวิตร โรจนพฤกษ์...คุณต่อสู้เพื่อแผ่นดินนี้มากี่ครั้ง คุณเก่งมาจากไหนไม่เอากษัตริย์
หรือจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่สู้เพื่อเหลี่ยมกับอากง


ด้วยจิตคารวะ
ดร.วรัตต์ อินทสระ



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กลับมาอีกครั้ง




ขาดหายจากบล็อกนี้ไปนาน  ขอบอกว่า เป็นการหายที่น่าอับอายที่สุด เพราะ "ลืมพาสเวิด"
พยายามสุ่มหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ ความอดทนและเวลาจึงพ้นขีดจำกัด ปล่อยให้บล็อกถูกทิ้งร้าง
ยาวนานเกินครึ่งปี  เป็นความผิดที่ไม่น่าให้อภัย โดยเฉพาะเมื่อคิดในมิติของความเป็นครูที่ต้องพัฒนา
สื่อการสอนอยู่เสมอ

ครั้นจะเปิดบล็อกใหม่ ก็แสนเสียดายเนื้อหาที่มีอยู่ที่นี่  เหมือนจะย้ายบ้านนั่นแหละครับ
ถ้าย้ายไปแล้ว ต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งใหม่หมดนี่ นอกจากแพงทั้งแผ่นดินแล้ว ยังเสียเวลา
อีกไม่ใช่น้อย

ใกล้จะเปิดเทอมอีกครั้ง (๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕) วิชาการออกสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องรับผิดชอบในเทอมนี้  จะมีทั้งความรู้ใหม่ๆและเรื่องเล่ามาคลุกเคล้าให้กลมกล่อม

 ที่สำคัญบล็อกนี้ มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นมาอีก เพราะจะมีทั้งสาระ บันเทิง การเมือง ฟุตบอลและการเมืองเข้ามาเติมสีสันให้ นักศึกษาอ่านหนังสือเกินปีละ ๘ บรรทัด

ดร.วรัตต์ อินทสระ
(วันฉัตรมงคล,ขอพระองค์ทรงพระเจริญ)