วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555




เพื่อให้เข้าใจว่า..ทำไม? ต้องส่งบทความโต้แย้งนี้ในเวทีสาธารณะ  เป็นเพราะจากอนุสนธิจากบทความเรื่อง “พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็นพ่อของประชาชน” เผยแพร่ในเวปไซต์ประชาไท http://prachatai.com/journal/2011/12/38111เมื่อวันพฤหัสเวลา ๐๑.๐๐ เศษๆ บวกกับทวีตเตอร์ @PravitR  ซึ่งขอยกมาบางข้อความ เช่น

@PravitR: กว่า 50 ปีของข้อมูลด้าน 'ดี' ด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันฯ คงทำให้คนจำนวนหนึ่งเกิดอาการมึนชาทางสมองเรื้อรัง

@PravitR: คนไม่ใช่ควาย จะได้มานั่งยัดเยียดข้อมูลด้านเดียว ด้านเดียว ทุกวัน -แม้แต่ควายก็คงไม่ยอมทน #ม112

@PravitR: คนไม่ใช่ควาย จะได้ทนกับข้อมูลด้านเดียวไปจนวันตาย -แม้ควายยังสมควรได้ข้อมูลหลากหลายเกี่ยวกับเจ้านายมัน #ม112

จะสังเกตเห็นว่าการติกแท็ก ๑๑๒ ตอนท้ายความคิดเห็นนั้น คือ แนวคิดมุ่งไปสู่ประเด็นกฎหมายมาตรา ๑๑๒ โดยชัดเจน และเพื่อให้เกิดข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะอ่าน “ความโต้แย้ง”  ขอให้ลองติดตามอ่าน ทวีตเตอร์ @PravitR  เป็นภาคผนวกไปด้วย

หลังจากนั้นจึงค่อยกลับมาละเลียดความเห็นโต้แย้งนี้อีกครั้ง


(๑)ประวัติศาสตร์การรบ
ประวัติศาสตร์ของหลายประเทศในโลก มีเรื่องราวให้น่าศึกษามากมาย ถ้าศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์ก็จะพบวิถีของการสงครามเป็นส่วนใหญ่  เมื่อหมดสงคราม—อิทธิพลของระบอบการปกครองทั้งประชาธิปไตยทั้งเผด็จการก็แผ่เข้ามาสมทบรวมกับโลกาภิวัตน์  ซึ่งเรื่องนี้พื้นฐานคือการปฏิวัติข้อมูลด้านข่าวสาร

เมื่อโลกก้าวมาถึงจุดนี้  วัฒนธรรมของหลายชาติจึงจำเป็น จำยอม หรือพร้อมใจเปลี่ยน  ขอยกตัวอย่างง่ายๆ  จากเพลงปลุกใจให้รักชาติกลายมาเป็นเพลงกรุ๊งกริ๊ง แบบจิงเกิ้ลโฆษณา  จากสงครามกู้ชาติเปลี่ยนมาเป็นสงครามการสร้างตราสินค้า (Brand)

มองมุมนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว --ถ้าประชาชนในชาติ ไม่มองย้อนไปถึงที่มาของความเป็นชาติ ที่กว่าจะรวบรวมได้เป็นปึกแผ่นเช่นวันนี้  แล้วหลงทิศไปมีแนวคิดอ้างอิงตะวันตก จากการชี้นำของนักเรียนหัวนอก กลับบ้านเพื่อปฏิเสธอาณาจักรและทำตัวเป็นเจ้าอาณาจักรเสียเอง  ด้วยเชื่อกันว่าระบบแบบตะวันตกนั้นเหนือกว่า  โดยเฉพาะคำว่า “เสรี”

เศรษฐกิจเสรี การค้าเสรี สื่อเสรี หรืออะไรก็ตามที่กล่าวอ้างถึงความเสรี  โดยเนื้อแท้แล้วมันไม่ได้เกิดขึ้นจริง มันเป็นการแปลงร่างของนายทุนที่ก้าวเข้ามา “ผูกขาด” ทางเศรษฐกิจ  ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการในพัฒนาระบบทุนนิยม  ระบบนี้เข้ามาหาประโยชน์และพยายามเปลี่ยนแปลงกลไกความคิดของชนชั้นที่ต่ำกว่า  เอาประโยชน์จากแรงงาน  เอาประโยชน์จากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ และสุดท้ายจะมาเอาประโยชน์จากรากเหง้าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชาติ ด้วยพลังของทุน เทคโนโลยีและสื่อมวลชน


(๒) เกมล่าเหยื่อ
วันนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการสร้าง เกมล่าเหยื่อ (นายทุนàประชาชนผู้ยากจน) สมการนี้มีสมมติฐานมาจากความเป็นสัตว์เศรษฐกิจของมนุษย์  คือต่อสู้เพื่ออำนาจ  ลงแข่งขัน  มีผลแพ้ชนะที่เกิดจากกิเลสของประชาชน  ถ้าระบบทุนนิยมชนะก็เดินบนเส้นทางที่เรียกว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  โดยปักป้ายวาทกรรม วิสัยทัศน์ใหม่  คิดใหม่ ทำใหม่ ซึ่งคนที่สร้างวาทกรรมนี้ยังแอบซุกตัวอยู่ในมายาที่แปลกปลอมในสังคม

หลายประเทศที่เจริญแล้ว ใช้วัฒนธรรมนำหน้าเศรษฐกิจ นำหน้าการเมือง หลายประเทศไม่ต้องมีกระทรวงวัฒนธรรม (ยกเว้นประเทศฝรั่งเศสที่มีกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อเป็นแว่นสายตาสำหรับการดู “เมืองขึ้น”)
ความแตกแยกของสังคมไทยวันนี้โดยเฉพาะความติดที่จะแยกกษัตริย์กับประชาชน  ขอให้มองไปที่ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตลอดระยะเวลา ๔๐-๕๐ ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนพวกนี้สร้างความเสื่อมถอยให้กับประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชุมชน สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา รวมไปถึงระบบสังคมและวัฒนธรรม  เพราะคนพวกนี้ยอมตามความคิดนายทุนทั้งต่างชาติและนายทุนในประเทศ  ใช้ศาสตร์ที่ร่ำเรียนมาจากเมืองนอก “แปลงคนให้เป็นบริวาร” โดยไม่มองย้อนไปที่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่เข้าใจมิติทางสังคม และไม่นำพาต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย

แต่หลังจากที่ตกเป็นอาณานิคมทางปัญญามานาน คนกลุ่มนี้แก้ตัวด้วยการทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ เชื่อมกับฉบับที่ ๙ โดยใช้”คน”เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและยึดหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหัวใจ แล้วจึงย่อยเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร การพัฒนา และเป็นวิถีนำทาง

ถ้ามีใครถามว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร? ขอตอบอย่างง่ายและสั้นว่า เป็นต้นทุนทางสังคมที่ยืนคนละฟากกับทุนนิยม


(๓) หลังปฐมบรมราชโองการ  
“เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ในหลวงไม่เคยมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างแท้จริงเลย  พระราชอำนาจทั่วไป พระราชอำนาจพิเศษ พระราชอำนาจสำรอง ถูกชนชั้นปกครองบดบังไปจนสิ้น ในหลวงยอมอยู่ภายใต้กฎหมายทุกฉบับอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าใครหน้าไหนจะเป็นผู้ออกกฎหมาย ทรงอดทนรอคอยจนวินาทีสุดท้ายที่จะกอบกู้บ้านเมืองในยามวิกฤติ เนื่องจากการละเว้นในหน้าที่ของคนอื่น
พระเจ้าอยู่หัวถึงแม้จะเป็นกษัตริย์ แต่ไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ปกครอง  ผู้ปกครองของประเทศนี้ คือ ทหารและนักการเมืองที่ผลัดกันขึ้นมาครองอำนาจ ทุกยุคทุกสมัยที่ชนชั้นปกครองขึ้นมามีอำนาจ ก็ใช้อำนาจโดยขาดปัญญา ทะเยอทะยานและเห็นแก่ความยิ่งใหญ่ของตนเองและพวกพ้อง

เพียงแค่แนวคิด “พอเพียง” ของในหลวงในยุคสมัยที่เรากำลังถูกล่าจากนายทุนหน้าเหลี่ยมและพวกพ้องทุกวันนี้ “คิดให้ลึกให้ซึ้ง” ก็เพียงพอต่อการยืนอยู่ข้างรักษาองค์พระมหากษัตริย์ตลอดไป  เพียงพอต่อการนับถือว่าในหลวงคือพ่อของแผ่นดินนี้  มิพักต้องย้อนกลับไปถึงพระราชกรณียกิจอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชน
เราระลึกถึงโดยไม่จำเป็นต้องหวั่นไหวกับประโยคตีกินเป็นแผ่นเสียงตกร่อง ว่าพวกมึงรับข้อมูลด้านเดียว
และประวิตร โรจนพฤกษ์...คุณต่อสู้เพื่อแผ่นดินนี้มากี่ครั้ง คุณเก่งมาจากไหนไม่เอากษัตริย์
หรือจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่สู้เพื่อเหลี่ยมกับอากง


ด้วยจิตคารวะ
ดร.วรัตต์ อินทสระ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น