วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เจ้าไม้ขีดไฟก้านน้อย (ไม่) เดียวดาย

ปริมาณ เนื่อหาของวิชา "สื่อสารบนบรรจุภัณฑ์" ดูจะเป็นรองวิชา "สร้างสรรค์งานโฆษณา" นิด ๆ
ถ้าเป็นม้าแข้่งก็เฉือนกันแค่ขนจมูกม้า ถ้าเป็นมวยสูสีถึงขั้นใครต่อยได้อีกครึ่งหมัด
ก็ถึงชนะได้เลย

แต่ก็อย่างว่าล่ะ...ปริมาณจะมากจะน้อย ไม่สำคัญเท่าสาระของเนื้อหานั้น "โดน" คนอ่านแค่ไหน
คนอ่านที่ตอนนี้มีผูู้้้ติดตามถึง ๑๒๘ คน มีบทความ ๔๕ บทความ แต่มีคนคอมเม้นท์รวม ๙ ข้อความ

เอ้า.....ฮา!!!!!!!!!

ฮาพร้อมน้ำตาเล็ด

จำนวนการตอบกลับ (แบบไม่ใช่กระทู้เช็คชื่อ) น้อยเป็นเรื่องผิดปกติอย่างมาก เมื่อเทียบกับจำนวน
เนื้อหา ถึงจะไม่ไร้การโต้ตอบอย่างสิ้นเชิง แต่ความรู้ระดับเกือบจะรับปริญญา ก็น่าจะมีความเห็น
ต่อยอด ออกมาให้ได้ขบได้คิดได้มีข้อมูลออกมาจากนักศึกษาบ้าง

นอยด์ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ.....


หรือเราจะยอมจำนนต่อภาวะการณ์ "เงียบเท่านั้นที่ทำให้กูไม่ต้องมีการบ้าน" ของนักศึกษาดีน๊า

หุหุ...

ด่าบ้าง เสียดสีบ้าง กระตุ้นความอยากกันบ้าง ถือเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนพร้อม ๆ
กับทำตัวผิดศีลไปเรื่อย ๆ แบบนี้หล่ะ

......................................

ไปที่เนื้อหาของสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์บ้าง

หลังจากที่โยนไข่กันไปครบทุกชั้นเรียนแล้ว อันนั้นเป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้ว่า หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์
ที่แท้จริงมันคือ "การปกป้องสินค้า"

เนื้อหาต่อมาเป็นเรื่องของ ฟังก์ชั่นและเทคนิค

ไอ้บรรจุภัณฑ์ที่เอาไว้ปกป้องห่อหุ้มสินค้า (ในชั้นเรียนนี้) จะเน้นกระดาษเป็นวัสดุหลักนะครับ

เทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่นำมา "กระทำ" ต่อกระดาษได้ก็มี ๕ เทคนิคดังนี้

ตัด / พับ / ติด / ปรุ / เจาะ
ตัด / พับ / ติด / ปรุ / เจาะ
ตัด / พับ / ติด / ปรุ / เจาะ
ตัด / พับ / ติด / ปรุ / เจาะ
ตัด / พับ / ติด / ปรุ / เจาะ



How To Draw Guide - Paper Folding Cutting 3.jpg



Degri Glue Clip Art




๕ เทคนิคนั้นเป็นเรื่องของเทคนิคที่ใช้กับ "ตัววัสดุกระดาษ" โดยตรง
เรายังไม่พูดถึงเทคนิคการพิมพ์ ที่ยังมี ... โอ๊ย ..... เยอะ (เช่น ปั้มนูน ปั้มจม ฟลอยด์ เคลือบเงาเคลือบด้าน เป็นต้น)

ส่วนเรื่องของ ฟังก์ชั่น ง่าย ๆ เลยก็คือ การนำเทคนิคต่าง ๆ เหล่านั้นมาสร้างสมดุลกับ
ขนาด กว้าง ยาว หนา สูง ของบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม

โดยต้องคำนึงถึง "การปกป้องสินค้า" เป็นหลักอยู่เหมือนเดิม

นี่คือภาคทฤษฎีที่้องเรียนรู้ไว้

ภาคปฏิบัติก็คือ....โจทย์ "ไม้ขีดสามก้าน"



บรีฟโจทย์ที่ทุกคนจะได้รับเหมือน ๆ กันก็คือ
๑. สินค้าคือไ้ม้ขีด ๓ ก้าน ซึ่งปกติไม้ขีด ๑ กล่ิองจะบรรจุ ๔๐ ก้าน
๒. หัวไม้ขีดจะมี ๓ สี คือ แดง / เหลือง / ส้ม
๓. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการขาย คือ คนที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่
๔. แนวคิดการออกแบบที่จะต่อยอดไปสู่การทำโฆษณาคือ "เพราะเรารักคุณ"
(จึงต้องการให้คุณสูบบุหรี่แค่วันละ ๓ มวน)

ฮา.................

แต่ถ้าอยากสูบมากกว่า ๓ มวน ก็เชิญซื้อสินค้ากล่องไม่ขีดบรรจุ ๓ ก้่นของเราได้อีก

เห็นมะ...ทำตัวเป็นคนดีแต่แฝงความเดวิล ๆ ไว้ด้วย

นักศึกษาก็ระดมสมอง ออกแบบกันมาล่ะครับ ถึงมันจะดูง่ายแต่เวลาลงมือทำจริงแล้วไม่ง่าย
อย่างที่เห็นนะครับ

ลองมาดูไอเดียชุดแรกของนักศึกษากัน

(แหะๆๆ มันโหลดรูปตัวอย่างงานมาไม่ได้ เดี๋ยวขอเวลาแก้ไขหน่อยนะครับ)

เอาแค่ ๓ ตัวอย่างพอหอมปากหอมคอ...ก็ได้เห็นกันว่า เว้ยเฮ้ยยยยย!!!! แต่ไม้ขีด ๓ ก้่าน
ถ้าหยิบโจทย์มาบรีฟดีดี ก็สนุกไม่ใช่เล่น

พักฟังเพลงแปร๊บบบบบบบบบบบบบบบ!!!!


เจ้าไม้ขีดไฟก้านน้อยเดียวดาย แอบร๊ากกกกกดอกทานตะวันนนนนนนน

หูย....ใครแต่งฟร่ะ โดนใจคนแก่-มว๊ากกกก!!!!

..........................................................

ความสนุกของการเรียนไม่จบง่าย ๆ เพราะหลังจากได้ไอเดียแรกของงานไปแล้ว
ทุกกลุ่มก็กลับไปทำงานของตัวเองให้ออกมาดูดีเด้งที่สุด

หลักการสร้างแพคเกจโมเดลด้วยกระดาษสีขาว มี ๒ ข้อครับ

๑. สะอาด ไม่มีร่องรอยของขี้ไม้ขี้มือ
๒. ละเอียดและปราณีต รอยตัดกระดาษต้องขาดไม่เป็นขุย เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้ต้อง "เป๊ะ"

คือดูงานโดยรวมแล้ว สะอาดน่าหยิบจับ ซึ่งเป็นคุณสัมบัติสำคัญของบรรจุภัณฑ์ในภาพรวม

อ่า......ถึงตรงนี้มาทบทวนกันนิดนึง

ปกป้องสินค้า / ฟังก์ชั่นและเทคนิค / สะอาดปราณีต

ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้คำว่า "ไอเดียใหม่ๆสดๆซิงๆ" ต้องเป็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่

ไม่มีใครคิดมาก่อน.................................สู้เว้ย!!!!!!



ย้อนไปตรงเมื่อกี้นี้ ><

ความสนุกของการเรียนไม่จบง่าย ๆ เพราะคนสอนไม่ต้องประเมินและให้คะแนนเอง
นักศึกษาจะถือบรรจุภัณฑ์ไม้ขีดสามก้านของตัวเองลงไปเพื่อประเมินจากคนที่ไม่รู้
อิโหน่อิเหน่อะไรด้วยเลย

ถือลงไปพร้อม ๔ คำถามสำคัญ

๑. คุณคิดว่าสิ่งที่เห็นนี่เป็นบรรจุภัณฑ์อะไร < ข้อนี้ถ้าดันทะลึ่งมีคนตอบถูก ตกทันที เพราะ
ออกแบบใหม่ยังไงให้คนจับได้ ฮา....

๒. ถ้าผ่านข้อแรกไป ให้ถามต่อว่า แล้วคุณคิดว่าภายในนี้มีอะไร ? < ฮา..ถ้าตอบคำถามแรกไม่ถูก
อย่าหวังคำถามที่สองจะถูกเลย

๓. เมื่อเราได้หลอกล่อคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่สำเร็จแล้ว ถึงค่อย ๆ เฉลยว่ามันคือ
"กล่องไม้ขีดไฟ ๓ ก้านนนนนนนน!!!!"

ช่วงนี้นักศึกษาสามารถเงยหน้ามองฟ้า ทำน้ำตาเอ่อ ๆ กำหมัดแน่น ๆ แล้วพูดกับตัวเองได้ว่า

"ใช่..เราทำสำเร็จแล้ว" >/////<

ส่วนคำถามสุดท้าย หลังจากดีใจไป ๔ วินนาที คือ
๔. ถ้าคะแนนเต็ม ๑๐ การออกแบบนี้จะได้กี่คะแนน

ระหว่างการถามก็ใช้เทคโนโลยีจากสตีฟ จ๊อบส์ ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการบันทึกภาพมาเป็นหลักฐานว่า
คำถามต่าง ๆ ทั้งหมดนั้น ไม่ได้บีบบังคับขู่เข็ญให้ใครตอบ

แต่เป็นไปอย่างโปร่งใสบริสุทธิ์ยุติธรรม สมดังเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและการตรวจสอบของ
กกต.จริง ๆ ... ><"

ทั้งหมดนี่คือการเรียนที่ไม่จำเป็นต้องอยู่แค่ในห้องเท่านั้น

นักศึกษาเรียนภาคทฤษฎีไม่กี่ข้อในชั้นเรียน > ลงมือทำเพื่อให้เกิด First Idea > นำกลับไปปรับปรุง
> ประเมินผลโดยผู้อื่น

มันสนุกนะ....

ไม่เชื่อถามนักศึกษาที่เรียนแล้วดูสิ

เอ้าใครมีความเห็นอย่างไรกับการเรียนชิลล์ ๆ สบาย ๆ แบบนี้ ขอเชิญแสดงความเห็นได้เต็มเหนี่ยว ให้ตัวเลขการตอบมันพุ่งปรี๊ดสักกระทู้เถอะน่า

Please ^_____________________^

..................................

ปล.นักศึกษาภาคปกติโครงการพิเศษ ให้ทำการบ้านดังนี้นะครับ
ตามโจทย์ที่ทุกคนจะได้รับเหมือน ๆ กันก็คือ
๑. สินค้าคือไ้ม้ขีด ๓ ก้าน ซึ่งปกติไม้ขีด ๑ กล่ิองจะบรรจุ ๔๐ ก้าน
๒. หัวไม้ขีดจะมี ๓ สี คือ แดง / เหลือง / ส้ม
๓. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการขาย คือ คนที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่
๔. แนวคิดการออกแบบที่จะต่อยอดไปสู่การทำโฆษณาคือ "เพราะเรารักคุณ"
(จึงต้องการให้คุณสูบบุหรี่แค่วันละ ๓ มวน)

ให้ออกแบบบรรจุภัณฑ์นี้ ด้วยกระดาษอาร์ตการ์ดสีขาวความหนาไม่น้อยกว่า ๒๐๐ แกรม

งานที่ออกมาต้องแปลกใหม่ เพราะเมื่อนำไปประเมินด้วยความเห็นของคนภายนอกแล้ว
ต้องตอบคำถามข้อ ๑ และ ๒ ข้างล่างนี้ไม่ได้
๑. คุณคิดว่าสิ่งที่เห็นนี่เป็นบรรจุภัณฑ์อะไร < ข้อนี้ถ้าดันทะลึ่งมีคนตอบถูก ตกทันที เพราะ
ออกแบบใหม่ยังไงให้คนจับได้ ฮา....

๒. ถ้าผ่านข้อแรกไป ให้ถามต่อว่า แล้วคุณคิดว่าภายในนี้มีอะไร ? < ฮา..ถ้าตอบคำถามแรกไม่ถูก
อย่าหวังคำถามที่สองจะถูกเลย

หลังจากนั้นให้ออกไปทำการประเมิน ดูตัวอย่างการประเมินงานนี้จากลิ้งก์กลุ่มนี้นะครับ




ขอให้มีความสุขทู้กกกกกกกโคนนนนนนนนนนนน


ดร.วรัตต์ อินทสระ
(เช้้าวันอาทิตย์)





วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานโฆษณา ต้องแบบนี้ > "แสรดดด แม่งคิดได้ไงวะ"

หากพวกเรากำลังสบายจงปรบมือพลัน

แปะ ๆ ....

ถ้าใครปรบมือแปะ ๆ แสดงว่าคิดไม่แตกต่าง มันต้องสร้างความแตกต่างด้วย
เสียงอื่น ๆ เช่น

หากพวกเรากำลังสบายจงปรบมือพลัน

ตับ ๆ

แบบนี้ถึงจะเหมาะสมกับคนที่เรียนวิชาที่เกี่ยวข่องกับความคิดสร้างสรรค์หน่อย

บล็อกนี้สงบนิ่งไปนาน เนื่องจากเหตุสำคัญประการเดียวนั่น คือ "ขี้เกียจ"
ชัดมั้ย???

เป็นเรื่องปกตินะครับ ที่จะมีอารมณ์แบบอยากนอนเกาสะดือเล่นเฉย ๆ โดยไม่ต้องคิดอะไร
ให้เสียสมอง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องยึดหลัก "เกิดมาเพื่อเรียนรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ" ลงมือ
กระหน่ำคีย์บอร์ด ส่งเรื่องราวที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์โภชผลกับนักศึกษาให้เปิดหูเปิดตา
ว่าโลกนี้มันกว้างใหญ่กว่าที่คิดต่อไป....

วันนี้จะว่ากันด้วยเรื่องของ Minimalist ซึ่งไม่ได้แปลว่า "สัตว์" นะครับ

Minimal ไม่ใช่ Animal โปรดฟังให้จบเพลง

Minimalist คือ "น้อยๆแต่คิดเยอะๆ"

....................................................

เรื่องน้อยแต่มากเนี่ยเคยให้คำนิยามแบบละเอียดไปแล้วครั้งหนึ่ง แปลเป็นไทยว่า
"ลัทธิจุลนิยม" ซึ่งส่วนตัวแล้วได้ยินคำนี้แล้วนึกถึง พวกจุลินทรีย์ กับ กล้องจุลทรรศน์ยังไงก็ไม่รู้แหะ

เอาล่ะ..จะเป็นภาษาวิชาการ หรือภาษาวิชาเกินก็ตาม แต่ ความหมายของ "น้อยแต่มาก"

และ

"ทำน้อยแต่คิดเยอะ"

เนี่ยมันทำให้สมองได้โลดแล่นร่าเริงสนุกสนานกับการที่เกิดมามีสมองที่เหนือกว่า
สัตว์ประเภทอื่น ๆ ถ้าใครยังไม่เข้าใจ "มินิมอล" ก็ขออธิบายให้จีวรปลิว ณ ทีนี้ว่า...

"เปรียบเหมือนพระนั่นแหละ ท่านปลงผม ใส่ผ้าพันกายแค่ชิ้นเดียว คือ จีวร ถือบาตร ไม่ใส่รองเท้า
แต่อุดมไปด้วยคุณค่าของการใช้วชีวิต เป็นมินิมอลลิสต์ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
ไม่มีอะไรเยอะเกินความจำเป็น"

ลองหันมาดูชีวิตคนอย่างเรา ๆ สิครับ...กว่าจะออกจากบ้านได้

หน้าผมต้องเป๊ะ ส่องแล้วส่องอีก เสื้อผ้าต้องเนี้ยบ ชุดชั้นในลายลูกไม้ กางเกงในจีสตริง
รองเท้าต้องเข้ากับใบหน้า เอ๊ย....!!! เข้ากัุบเสื้อผ้า นาฬิกาเครื่องประดับพร้อม นับไปนับมา
กว้่าจะออกจากบ้านมาเรียนได้ต้องเฟอร์นิเจอร์ไม่น้อยกว่า ๑๕ ชิ้น

แบบนี้ไม่เรียกว่ามินิมอลครับ....

ทีนี้ในงานโฆษณามันก็มีงานลักษณะนี้ออกมาท้าทายสมองคนดูโฆษณาอยู่เป็นประจำ
ผู้บริโภคงานโฆษณาส่วนหนึ่งก็ชื่นชอบงามลักษณะนี้ เพราะมันมีรูปแบบที่

"เรียบง่ายไม่มีองค์ (ประกอบ) เยอะ แต่เต็มไปด้วยไอเดียและความคิดเจ็บๆ จี๊ดๆ"

วันนี้เลยเอางานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้หลักการของ "น้อยแต่ (ต้องคิด) มาก" มาฝากกันพอ
หอมปากหอมคอ ชิ้นไหนที่พอจะอธิบายเติมเข้าไปได้ก็จะทะลึ้งอธิบายให้ฟังไปด้วย

เนื้อหาของมินิมอลลิสต์นี้ นำไปใช้สอนในชั้นเรียนวิชาการสร้า่งสรรค์งานโฆษณา
เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ กรกฎาคมที่ผ่านมา....

ผมเข้าชั้นเรียนเวลา ๑๒.๒๐ น. ก่อนเวลาเรียนที่นัดกันไว้ ๑๒.๓๐ น. เพราะตั้งใจว่าจะจบชั้นเรียน
ให้ได้ภายใน ๑ ชั่วโมงเท่านั้น >///<

เพราะอะไรต้องรีบไปรีบมา มาเร็วไปเร็ว ก็เพราะมันจะได้เข้ากับเนื้อหา

"(สอน) น้อย ๆ แต่ (ได้ความรู้) มากๆ ไงเล่าาาาาาาาาา!!!!!"

๑๒.๓๐ เป๊ะ...มีนักศึกษา ๗ คน ผมให้รางวัลการตรงต่อเวลาด้วยการเช็คชื่อและให้คะแนน
ในช่องการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน

ผมตั้งหัวพาวเวอร์พ้อยต์ด้วยชื่อเรื่อง ๑๒ Coolest Minimalist Print Ads
ซึ่งมีตัวอย่างงาน Minimalist Print จำนวน ๑๑ ชิ้น ดังต่อไปนี้ ฮิ้วววววว์......

4lego

๑. จัดไปเลยรูปแรก The power of imagination and the possibilities of the famous
building blocks are represented in this ad for Lego. ผมนึกถึงประโยคคลาสสิคของ
ไอน์สไตน์ ที่กล่าวไว้ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เด็ก ๆ มักจะคิดอะไรแปลกกว่า
ผู้ใหญ่เสมอ ๆ ล่ะครับ ไอ้เลโก้สองชิ้นนั้น ลองเอาให้ผู้ใหญ่คิดบางทีคิดไม่ออกด้วยซ้ำว่า
จะจินตนาการให้มันเป็นอะไรดี


6mcdonalds

This ad employs a simple yet suggestive design to represent McDonald’s
‘Wi-Fries’ Internet connections.

๒. จัดงานที่สอง ตามมาติด ๆ อาหารขยะอย่างแมคโดนัลด์นี่ งานโฆษณาของเค้าไม่ใช่ขยะเลยนะครับ
งานนี้ต้องการบอกว่า ที่แมตคโดนัลด์มีบริการ Free Wi-fi น๊าาาาา!!! มากินมาเล่นกันที่นี่เร๊ววว!!!

จัดเฟร้นฟรายเป็นรูปสัญญลักษณ์วายไฟ แล้วเล่นกับคำ Wi-fi กับ French Fries (‘Wi-Fries)
ก็เป็นมินิมอลลิสต์งามๆ ได้อีกชิ้น

7orbitremotecarstarters

Ad for a gadget that means you can start your car from a distance.

๓. สำหรับผมชิ้นนี้ "แม่งงงงงสุดติ่ง" มินิจริง ๆ เพราะไอ้รถคันเล็ก ๆ ที่อยู่กลางภาพนัั่ั่น
สร้างความน่าสนใจให้ผมมากว่า มันรถยี่ห้ออะไร (วะ) ฮา................................

แต่โจทย์ของการขายสินค้า คือ ขายรีโมทคอนโทรล และคุณประโยชน์ของสินค้า คือ
การเปิดได้จากระยะไกล (แต่มันจะเปิดระยะไกลไปทำไมนะ ><"

12nationalenvironmentagency

The message of this ad is that smoking is prohibited inside Singapore’s pubs, clubs
and restaurants, so smoke outside.

๔. ชิ้นต่อมา เป็นเรื่องของโฆษณาเพื่อการรณรงค์บ้าง สิงคโปร์เค้าต้องการกระชับพื้นที่
ให้คนสูบบุหรี่ออกไปเจอเอ็ม ๗๙ ที่สวนลุม (แหะๆ)

ให้คนสูบบุหรี่ในผับในร้ายอาหาร ออกไปสูบข้างนอกโน้่น จะได้ไม่รบกวนพวกที่รักสุขภาพ

ด้วยความคิดง่าย ๆ แค่ กลับด้านของบุหรี่ก็ตอบโจทย์ Inside / Out Side ได้อย่าง่ายดาย
สมเป็นงานแบบ มินิมอลของเราจริง ๆ (ปรบมืออออออออออ)

24hutweber

This ad for Hut Weber shows how a hat can make all the difference in our perception
of an individual.

๕. เป็นงานอีกชิ้นที่ไม่ง่ายเลย โฆษณาขาย "หมวก" ครับ แค่ตัวสินค้ามันก็ขายยากอยู่แล้ว
ไม่ค่อยเห็นพริ้นท์แอดที่ร้านขายหมวกอย่าง Hut Weber จำเป็นต้องลงทุน
แต่ถ้าทำเอา "มัน" ทำเอา "โลห์" ล่ะก็ ชิ้นนี้ผมให้ทั้งมันทั้งโล่ห์ แนวคิดของงาน คือ
"แค่สวมหมวกก็สรา้งความแตกต่างได้"

หนวดจิ๋ม ๆ ทางซ้ายกับผมเรียบแปล้ เป็นสัญลักษณ์ที่ส่งไปถึง "ฮิตเลอร์" เผด็จการเยอรมัน
ได้ง่าย ส่วนทางด้านขวา....

เอิ่ม...พี่ครับ พี่คิดได้ไงเนี่ยครับ เอาหมวกมาใส่แค่ใบเดียว จากฮิตเลอร์แม่งงงงงงงง
กลายเป็นชาร์ลี แชปลิน

จากเผด็จการที่น่ากลัว กลายเป็น บุคคลที่สร้างรอยยิ้มให้คนทั้งโลก (ด้วยหมวกใบเดียว)

(ปรบมือยาว ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ)

29kuntsmann

๖. ชิ้นนี้ส่วนตัวแล้วเฉย ๆ นะ เหมือนจะเดจาวู เคยเห็นงานแบบนี้มาตลอด ๒๐ ปี
คือถ้าจะแสดงความมึนความเมา ก็ต้องแบบนี้แหละ

ก็คนเค้าจะขายเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ก็ต้องเปรียบเทียบให้เห็นกันแบบนี้แหละ

ปล. ถ้ากินเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ พี่ ๆ ไปกินน้ำเปล่ากันดีกว่ามั้ย???
ปล. ๒ เบียร์ช้างก็เหมือนจะเป็นเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์นะครับ เพราะสโลกแกนเค้าบอกว่า

"กินแล้วภาคภูมิใจ เบียร์คนไทยทามมมมมเองงงงงง" ถ้ากินแล้วภาคภูมิใจโดยไม่เมา
ผมก็ขอกินยร่ห้ออื่นล่ะกันนะพี่แอ๊ดนะ ><

งานทั้งหมดนี้ไปรื้อมาจาก http://www.dzinepress.com/2010/02/30-coolest-minimalist-print-ads/
ขอให้เครดิตไว้ ณ ที่นี้ด้วย

...........................................................

ชุดต่อมาเป็นเรื่องของ เรื่องสั้น ๆ อย่าง Short Film งานแคมเปญหนังสั้นทั่วโลก
นี่มีไอเดียเรื่องโปสเตอร์ที่ท้าทาย เพราะคอนเซปไม่เคยหนีไปจาก "สั้น กระชับ รวดเร็วจนเกินปกติ"

นักออกแบบต้องทำงานหนักพอควร เพื่อสื่อสารแนวคิดเดิม ๆ ให้สดใหม่อยู่เสมอ

ไม่ต้องอธิบายกันมาก ดูและคิดต่อเอาเองเลยว่า ถ้าเป็นคุณคิดจะนำเสนอเรื่อง

"สั้นๆ " ที่ดูเหมือน "ง่าย" นี้ได้อย่างไร


ที่มาของภาพ http://adrianpatino.com/print-design/






งานสุดท้ายเนี่ย

กระป๋องข้าวโพดกับเม็ดข้าวโพดเม็ดเดียวนี่ ได้ใจครับ เพราะ "หนังกับป็อบคอร์น"
มันเชื่อมโยงกันได้ชัดเจนมาก

น้อมคารวะผู้ออกแบบงานทุกชิ้นเป็นครู

ดร.วรัตต์ อินทสระ

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ญี่ปุ่น / อเมริกาและลัทธิจุลนิยม

ป่วยจนได้...ฝนพรำ นอนดึก ตื่นเช้า และผลการเลือกตั้ง ทำให้พลังชีวิตหายไปเยอะ

แต่ชีวิตต้องดำเนินต่อไป หิวก็กิน ง่วงก็นอน ป่วยเดี๋ยวก็หาย ใช้เวลาที่เหลืออยู่ในงดงาม

การสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์นี่นิ่งสนิทไป ๒ สัปดาห์ มาคราวนี้ขอจัดหนัก ๓ เรื่องซ้อน

จะพาไปญี่ปุ่นทัวร์อเมริกาและพาไปรู้จักกับลัทธิจุลนิยม

๑. ญี่ปุ่นกับงานบรรจุภัณฑ์

ญี่ปุ่นมีหลักการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่น ไปค้นหนังสือชื่อ รากเหง้าของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่น” (Japanese Packaging and its Roots in tradition)

่หน้าปกหนังสือ Japanese Packaging and its Roots in tradition


หนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งอ่านไม่ออก (ฮา.......)

แต่ก็หาข้อมูลมาจนได้ว่า เนื้อหาภายในเล่ม จะเล่าถึงต้นกำเนิดของบรรจุภัณฑ์ของญี่ปุ่น แนวความคิดของนักออกแบบของญี่ปุ่นที่เราความสามารถที่หลากหลายนั้น ถูกบ่มเพาะความรู้ที่มีอยู่จากขนบธรรมเนียม ตั้งแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน

ยุคต้น ๆ ของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเชื่อว่าแนวคิดการหีบห่อมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการติดต่อทางพุทธศาสนา และการค้ากับชาวจีน ชาวอินเดีย และประเทศต่างๆ ที่ไกลออกไปของเส้นทางสายไหมสู่ประเทศญี่ปุ่น

ตามแนวคิดนี้มีผลกระทบโดยตรงกับเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมชินโตของญี่ปุ่น หนึ่งในสิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรม การให้ของขวัญแบบญี่ปุ่นคล้ายกับว่านี้เป็นความคิดในการให้ส่วย หรือบรรณาการเพื่อเข้าติดต่อกับต่างประเทศ ซึ่งวัฒนธรรม การให้ของขวัญนั้นนำไปสู่การแปรเปลี่ยนเป็นวิธีแห่งญี่ปุ่นยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เกิดต่อเนื่องในโอกาสสำคัญของชีวิต หรือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งดูเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนของขวัญกัน ไม่ต้องมีพิธีรีตองมากมาย แต่สิ่งที่ฝังรากลึกลงในธรรมเนียมมีความหมายโดยนัยค่อนข้างแตกต่างจากชาวตะวันตก ทุกวันนี้ของขวัญถูกให้ต่อเมื่อการได้เข้าโรงเรียนใหม่ หรือเรียนจบสำเร็จการศึกษา ได้งานใหม่ ได้เดินทางท่องเที่ยว แต่งงาน แม้แต่การเสียชีวิต ไม่ใช่แต่เพียงของวันเกิด และในบางครั้งของขวัญที่เป็นเงินตราถูกห่อด้วยความประณีต และถูกให้อย่างเป็นพิธีการ

ชาวญี่ปุ่นใช้คำว่า “tsutsumu” สำหรับทำหน้าที่เป็น การบรรจุภัณฑ์สิ่งซึ่งเก็บรักษา ขนส่ง หรือเป็นของขวัญ แต่ทว่าคำ tsutsumu ไม่ได้หมายความแค่เพียง บรรจุภัณฑ์ หรือสิ่งห่อหุ่มเท่านั้น เป็นแนวความคิดในธรรมเนียมญี่ปุ่น

“tsutsumu”ไม่แค่เพียงวัตถุที่ถูกห่อหุ้มอยู่เท่านั่น แต่หมายถึงดวงใจของผู้ให้นั้นถูกห่อหุ้มอยู่ด้วย นั่นคือความเฉียบคมที่อ่อนโยนของเป็นพิเศษในการให้ ซึ่งกลายเป็นหลักพื้นฐานวัฒนธรรมการหีบห่อของญี่ปุ่น และไม่ควรลืมเลือนความหมายนั้น เมื่อมองเห็นบรรจุภัณฑ์ของพวกเขา


ไม่แปลกเลยครับ....ที่สิ่งห่อหุ้มของญี่ปุ่นจะสวยงามพิถีพิถัน เพราะพวกเขาใช้ "ใจ" ใส่เข้าไปในการออกแบบด้วยนั่นเอง

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ห่อหุ่มไข่ ญี่ปุ่นสามารถออกแบบได้ ๑ เล่มเต็มๆ


อย่าลืมนะครับ มีทฤษฎีมากมายแต่ถ้าขาด "หัวใจ" ใส่เข้าไปในการออกแบบก็ไร้ความหมาย

......................................................................

๒. โคคาโคล่า เริ่มใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพืชไร่

ผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา ในอเมริกาที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพืช ขวดบรรจุภัณฑ์ชีวภาพตัวใหม่นี้จะผลิตจาก MEG (mono-ethylene glycol) ที่ได้จากอ้อยและกากน้ำตาล และนำมาใช้ในอเมริกาเหนือช่วงงานโอลิมปิคฤดูหนาว ที่เมือง Vancouver ประเทศแคนาดา เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา นี้

ทำให้บริษัทโคคา-โคลาเป็นบริษัทแรกที่มีการนำขวดบรรจุภัณฑ์ PET ที่ผลิตจากพืชและสามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้เป็นที่แรก ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ตัวใหม่ทำให้การใช้พลาสติกจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงและยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

นอกจากนี้แล้วยังช่วยเสริมวิสัยทัศน์ของบริษัทที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตโดยไม่เพิ่มคาร์บอนให้กับโลก ทำให้บรรลุเป้าหมายของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste)

บริษัทโคคา-โคลา จะดำเนินการตรวจสอบ ติดตามผลและเก็บข้อมูลวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากพืชและนำเสนอผลเมื่อทุกอย่างพร้อมสมบูรณ์ ขวดบรรจุภัณฑ์จากพืชนี้ผลิตด้วยกระบวนการเปลี่ยนอ้อยและกากน้ำตาล (ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล) มาเป็นพลาสติก PET ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต นอกจากนี้ยังร่วมมือกับกองทุน World Wildlife Fund ในการสนับสนุนให้มีการปลูกอ้อยแบบยั่งยืนในประเทศบราซิลและประเทศต่าง ๆ

ทั้งนี้ ขวดบรรจุภัณฑ์ชีวภาพในอเมริกาเหนือจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบที่ได้จากอ้อยที่ผลิตในประเทศบราซิลถึง 30% ขณะที่ส่วนประกอบหลักที่ใช้จะเป็นพลาสติก PET แบบเดิม และบางส่วนมาจากวัตถุดิบที่ใช้แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณวัตถุดิบจากพืชที่ใช้ในการผลิตขวดบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

เนื้อหาส่วนนี้...จะปรากฏในเอกสารประกอบการสอนเรื่อง "บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม" อ่านกันล่วงหน้าให้รู้แนวทางของเนื้อหาไปก่อน และบอกใบ้ให้ว่า....เรื่องนี้แหละที่จะใช้ "ถามเป็นข้อสอบ"

..............................................................

๓. ลัทธิจุลนิยม หรือ ลัทธิมินิมัลลิสม์

คือขบวนการทางศิลปะ การออกแบบ และความงามที่ว่าด้วย "ความน้อย" เกิดจากการลดตัดทอน และเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของ ศิลปะสมัยใหม่ เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 โดยมีต้นกำเนิดมาจากศิลปะแบบ modernism ซึ่งเป็นศิลปะที่ไม่เพียงต่อต้านสไตล์การออกแบบยุคเก่าที่เน้นความหรูหราฟู่ฟ่าเท่านั้น

แต่ยังต่อต้านการเมืองและสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงด้วย นักออกแบบแนว modernist จึงใช้การออกแบบที่ตัดทอนสิ่งที่เกินจริงทิ้ง เป็นวิถีทางการแสดงออกที่จะทำลายชนชั้นทางสังคมด้วย พวกเขารู้สึกว่าวัตถุสิ่งของควรจะเป็นอย่างที่เป็นจริง และนี่ก็คือลักษณะของ minimallism ที่เน้นความเรียบง่ายบริสุทธิ์

ผลงานในแนวลดทอน ที่เรียกว่า "Minimal Art" ซึ่งยอมรับในทฤษฎีรูปทรง (Theory of Form) ที่เชื่อมั่นว่าศิลปะคือรูปทรงนัยสำคัญ ศิลปะที่ดีที่สุดคือศิลปะที่ลดทอนจนกลายเป็นรูปทรงพื้นฐานที่มีความเรียบง่ายที่สุด และยกย่องว่า "แนวคิดสำคัญกว่าการเล่าเรื่อง"

ในจิตรกรรมของฝรั่งเศสตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จิตรกรหัวก้าวหน้าทำการลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของแบบที่เขียนลง แทนที่การเขียนรายละเอียดด้วยฝีแปรงและสีสัน จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จิตรกรลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของรูปทรงลงจนกลายเป็นเหลี่ยมเรขาคณิต แล้วก็ลดทอนลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นศิลปะนามธรรม ดังผลงานของจอร์โจ โมรันดิ

เป็นศิลปินระดับมาสเตอร์ของศตวรรษ ที่๒๐โด่งดังไม่แพ้ ปอล เซซาน และ อง-บัปติสต์ ซิเมยง ชาร์แดง โดยเฉพาะภาพสติลไลฟ์และแลนด์สเคป ผลงานเป็นภาพซึ่งมีรายละเอียดที่เหมือนจริงน้อยลงทุกที ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในภาพ สีสัน หรือการจัดวางองค์ประกอบของภาพ แทนที่จะเป็นภาพเหมือนสิ่งของหรือผลไม้อย่างที่เคยเห็นกัน

ผลงานของโมรันดิ ตัดทอนทุกอย่างที่ไม่จำเป็น

ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงรูปทรง โครงร่าง ในสีสันอันซีดจาง อันเป็นสไตล์ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร สิ่งที่โดดเด่นมากในภาพสติลไลฟ์ของเขาก็คือการเล่นกับโทนสี รูปทรง และองค์ประกอบที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทำให้ภาพของเขาดูน่าสนใจมากไปกว่าการเป็นแค่ขวดและแจกันใบเดิมๆ สไตล์ของศิลปินอิตาเลียนคนดัง มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการนำไปสู่ความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่เรียกว่า มินิมัลลิสม์ (Minimalism) ใน เวลาต่อมา

ศิลปินในกลุ่ม มินิมอลลิสม์ มักจะทำงานประติมากรรมมากกว่างานจิตรกรรม การนำเสนอผลงานโดยมากจะไม่มีแท่นฐานสำหรับวางประติมากรรม ผลงานจะดูไม่มีความเป็นงานฝีมือในลักษณะ "งานทำมือ" แต่จะดูเป็นผลผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเสียมากกว่า เรียบง่ายและประณีต แต่ในความเป็นจริง ในความเรียบง่ายเหมือนกับว่าจะไม่มีรูปแบบเฉพาะ ศิลปินในกลุ่มนี้ต่างมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน มินิมอลลิสม์ เป็นแนวศิลปะกระแสหลักที่ครอบงำวงการศิลปะในอเมริกาช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ ๑๙๖๐ เปรียบได้กับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Abstract Expressionism) ที่ได้รับความนิยมมากในคริสต์ทศวรรษ ๑๙๕๐

ลัทธิจุลนิยมนี้ นักออกแบบบรจุภัณฑ์ได้นำมาทดลองใช้เพื่อลดความฟุ่มเฟือยของการออกแบบ

โดยทดลองกับบรรจุภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมหลายชิ้น

ลองคิดดูว่าถ้าเราถอดองค์ประกอบที่แสดงในบรรจุภัณฑ์เดิมให้มันน้อยที่สุดแล้ว เราจะรู้สึกอย่างไร???

โปรเจ็คนี้เป็นโปรเจ็คการทดลองของกลุ่ม A2591 ที่พยายามและทดลองลดบทบาทความสำคัญของกราฟิก

ที่มีอิทธิพลต่อบรรจุภัณฑ์ดู

โดยเริ่มต้นทางกลุ่ม A2591 ได้เลือกทดลองกับสินค้า 3 ชิ้นที่ชื่นชอบ ชิ้นแรกก็คือสินค้า Nutella

ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จที่สุดในกลุ่มสินค้าเดียวกัน เมื่อบรรจุภัณฑ์เอาลวดลายที่อยู่บนฉลากออก โดยให้เห็นสินค้าภายใน เพราะไม่ต้องการที่จะให้เห็นส่วนผสมที่เป็นกราฟฟิกบนฉลาก ผู้บริโภคสามารถมองเห็นสินค้าชัดเจน

ชิ้นที่สองคือ Mr.Muscle ซึ่งอันนี้น่าจะดีกว่าอันแรก เนื่องจากว่าพอเอาฉลากสินค้าออก

จะเห็นความลึกลับของขวดที่บรรจุของเหลวสีเขียว

ตัวอย่างสุดท้ายคือ CornFlakes ข้าวโพดเนสท์เล่ ซึ่งน่าจะเห็นภาพชัดเจนว่ารูปภาพความรู้สึกว่าสำคัญแค่ไหน

ที่กลุ่มลูกค้าพอที่จะสามารถจินตนาการถึงความอร่อยที่พวกเขาอาจจะได้ลิ้มรส


เอาล่ะครับ....เรียนรู้นอกห้องเรียนกันได้ถ้าใส่ใจและสนใจในความลี้ลับของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

เตรียมรับโจทย์ "ลัทธิจุลนิยม" ให้ดี

........................................................


ใครอ่านบทความนี้แล้วช่วยลงชื่อไว้ในช่องแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ


แอบมาแอบไปแบบนี้แหละ


ดร.วรัตต์ อินทสระ

(วันห่วยๆที่ป่วยๆเปื่อยๆ)