ป่วยจนได้...ฝนพรำ นอนดึก ตื่นเช้า และผลการเลือกตั้ง ทำให้พลังชีวิตหายไปเยอะ
แต่ชีวิตต้องดำเนินต่อไป หิวก็กิน ง่วงก็นอน ป่วยเดี๋ยวก็หาย ใช้เวลาที่เหลืออยู่ในงดงาม
การสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์นี่นิ่งสนิทไป ๒ สัปดาห์ มาคราวนี้ขอจัดหนัก ๓ เรื่องซ้อน
จะพาไปญี่ปุ่นทัวร์อเมริกาและพาไปรู้จักกับลัทธิจุลนิยม
๑. ญี่ปุ่นกับงานบรรจุภัณฑ์
ญี่ปุ่นมีหลักการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่น ไปค้นหนังสือชื่อ “รากเหง้าของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่น” (Japanese Packaging and its Roots in tradition)
่หน้าปกหนังสือ Japanese Packaging and its Roots in tradition
หนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งอ่านไม่ออก (ฮา.......)
แต่ก็หาข้อมูลมาจนได้ว่า เนื้อหาภายในเล่ม จะเล่าถึงต้นกำเนิดของบรรจุภัณฑ์ของญี่ปุ่น แนวความคิดของนักออกแบบของญี่ปุ่นที่เราความสามารถที่หลากหลายนั้น ถูกบ่มเพาะความรู้ที่มีอยู่จากขนบธรรมเนียม ตั้งแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน
ยุคต้น ๆ ของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเชื่อว่าแนวคิดการหีบห่อมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการติดต่อทางพุทธศาสนา และการค้ากับชาวจีน ชาวอินเดีย และประเทศต่างๆ ที่ไกลออกไปของเส้นทางสายไหมสู่ประเทศญี่ปุ่น
ตามแนวคิดนี้มีผลกระทบโดยตรงกับเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมชินโตของญี่ปุ่น หนึ่งในสิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรม ”การให้ของขวัญแบบญี่ปุ่น” คล้ายกับว่านี้เป็นความคิดในการให้ส่วย หรือบรรณาการเพื่อเข้าติดต่อกับต่างประเทศ ซึ่งวัฒนธรรม ”การให้ของขวัญ” นั้นนำไปสู่การแปรเปลี่ยนเป็นวิธีแห่งญี่ปุ่นยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เกิดต่อเนื่องในโอกาสสำคัญของชีวิต หรือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งดูเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนของขวัญกัน ไม่ต้องมีพิธีรีตองมากมาย แต่สิ่งที่ฝังรากลึกลงในธรรมเนียมมีความหมายโดยนัยค่อนข้างแตกต่างจากชาวตะวันตก ทุกวันนี้ของขวัญถูกให้ต่อเมื่อการได้เข้าโรงเรียนใหม่ หรือเรียนจบสำเร็จการศึกษา ได้งานใหม่ ได้เดินทางท่องเที่ยว แต่งงาน แม้แต่การเสียชีวิต ไม่ใช่แต่เพียงของวันเกิด และในบางครั้งของขวัญที่เป็นเงินตราถูกห่อด้วยความประณีต และถูกให้อย่างเป็นพิธีการ
ชาวญี่ปุ่นใช้คำว่า “tsutsumu” สำหรับทำหน้าที่เป็น “การบรรจุภัณฑ์” สิ่งซึ่งเก็บรักษา ขนส่ง หรือเป็นของขวัญ แต่ทว่าคำ tsutsumu ไม่ได้หมายความแค่เพียง บรรจุภัณฑ์ หรือสิ่งห่อหุ่มเท่านั้น เป็นแนวความคิดในธรรมเนียมญี่ปุ่น
“tsutsumu”ไม่แค่เพียงวัตถุที่ถูกห่อหุ้มอยู่เท่านั่น แต่หมายถึงดวงใจของผู้ให้นั้นถูกห่อหุ้มอยู่ด้วย นั่นคือความเฉียบคมที่อ่อนโยนของเป็นพิเศษในการให้ ซึ่งกลายเป็นหลักพื้นฐานวัฒนธรรมการหีบห่อของญี่ปุ่น และไม่ควรลืมเลือนความหมายนั้น เมื่อมองเห็นบรรจุภัณฑ์ของพวกเขา
ไม่แปลกเลยครับ....ที่สิ่งห่อหุ้มของญี่ปุ่นจะสวยงามพิถีพิถัน เพราะพวกเขาใช้ "ใจ" ใส่เข้าไปในการออกแบบด้วยนั่นเอง
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ห่อหุ่มไข่ ญี่ปุ่นสามารถออกแบบได้ ๑ เล่มเต็มๆ
อย่าลืมนะครับ มีทฤษฎีมากมายแต่ถ้าขาด "หัวใจ" ใส่เข้าไปในการออกแบบก็ไร้ความหมาย
......................................................................
๒. โคคาโคล่า เริ่มใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพืชไร่
ทำให้บริษัทโคคา-โคลาเป็นบริษัทแรกที่มีการนำขวดบรรจุภัณฑ์ PET ที่ผลิตจากพืชและสามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้เป็นที่แรก ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ตัวใหม่ทำให้การใช้พลาสติกจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงและยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
นอกจากนี้แล้วยังช่วยเสริมวิสัยทัศน์ของบริษัทที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตโดยไม่เพิ่มคาร์บอนให้กับโลก ทำให้บรรลุเป้าหมายของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste)
บริษัทโคคา-โคลา จะดำเนินการตรวจสอบ ติดตามผลและเก็บข้อมูลวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากพืชและนำเสนอผลเมื่อทุกอย่างพร้อมสมบูรณ์ ขวดบรรจุภัณฑ์จากพืชนี้ผลิตด้วยกระบวนการเปลี่ยนอ้อยและกากน้ำตาล (ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล) มาเป็นพลาสติก PET ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต นอกจากนี้ยังร่วมมือกับกองทุน World Wildlife Fund ในการสนับสนุนให้มีการปลูกอ้อยแบบยั่งยืนในประเทศบราซิลและประเทศต่าง ๆ
ทั้งนี้ ขวดบรรจุภัณฑ์ชีวภาพในอเมริกาเหนือจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบที่ได้จากอ้อยที่ผลิตในประเทศบราซิลถึง 30% ขณะที่ส่วนประกอบหลักที่ใช้จะเป็นพลาสติก PET แบบเดิม และบางส่วนมาจากวัตถุดิบที่ใช้แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณวัตถุดิบจากพืชที่ใช้ในการผลิตขวดบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
เนื้อหาส่วนนี้...จะปรากฏในเอกสารประกอบการสอนเรื่อง "บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม" อ่านกันล่วงหน้าให้รู้แนวทางของเนื้อหาไปก่อน และบอกใบ้ให้ว่า....เรื่องนี้แหละที่จะใช้ "ถามเป็นข้อสอบ"
..............................................................
๓. ลัทธิจุลนิยม หรือ ลัทธิมินิมัลลิสม์
คือขบวนการทางศิลปะ การออกแบบ และความงามที่ว่าด้วย "ความน้อย" เกิดจากการลดตัดทอน และเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของ ศิลปะสมัยใหม่ เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 โดยมีต้นกำเนิดมาจากศิลปะแบบ modernism ซึ่งเป็นศิลปะที่ไม่เพียงต่อต้านสไตล์การออกแบบยุคเก่าที่เน้นความหรูหราฟู่ฟ่าเท่านั้น
แต่ยังต่อต้านการเมืองและสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงด้วย นักออกแบบแนว modernist จึงใช้การออกแบบที่ตัดทอนสิ่งที่เกินจริงทิ้ง เป็นวิถีทางการแสดงออกที่จะทำลายชนชั้นทางสังคมด้วย พวกเขารู้สึกว่าวัตถุสิ่งของควรจะเป็นอย่างที่เป็นจริง และนี่ก็คือลักษณะของ minimallism ที่เน้นความเรียบง่ายบริสุทธิ์
ผลงานในแนวลดทอน ที่เรียกว่า "Minimal Art" ซึ่งยอมรับในทฤษฎีรูปทรง (Theory of Form) ที่เชื่อมั่นว่าศิลปะคือรูปทรงนัยสำคัญ ศิลปะที่ดีที่สุดคือศิลปะที่ลดทอนจนกลายเป็นรูปทรงพื้นฐานที่มีความเรียบง่ายที่สุด และยกย่องว่า "แนวคิดสำคัญกว่าการเล่าเรื่อง"
ในจิตรกรรมของฝรั่งเศสตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จิตรกรหัวก้าวหน้าทำการลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของแบบที่เขียนลง แทนที่การเขียนรายละเอียดด้วยฝีแปรงและสีสัน จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จิตรกรลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของรูปทรงลงจนกลายเป็นเหลี่ยมเรขาคณิต แล้วก็ลดทอนลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นศิลปะนามธรรม ดังผลงานของจอร์โจ โมรันดิ
เป็นศิลปินระดับมาสเตอร์ของศตวรรษ ที่๒๐โด่งดังไม่แพ้ ปอล เซซาน และ อง-บัปติสต์ ซิเมยง ชาร์แดง โดยเฉพาะภาพสติลไลฟ์และแลนด์สเคป ผลงานเป็นภาพซึ่งมีรายละเอียดที่เหมือนจริงน้อยลงทุกที ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในภาพ สีสัน หรือการจัดวางองค์ประกอบของภาพ แทนที่จะเป็นภาพเหมือนสิ่งของหรือผลไม้อย่างที่เคยเห็นกัน
ลัทธิจุลนิยมนี้ นักออกแบบบรจุภัณฑ์ได้นำมาทดลองใช้เพื่อลดความฟุ่มเฟือยของการออกแบบ
โดยทดลองกับบรรจุภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมหลายชิ้น
ลองคิดดูว่าถ้าเราถอดองค์ประกอบที่แสดงในบรรจุภัณฑ์เดิมให้มันน้อยที่สุดแล้ว เราจะรู้สึกอย่างไร???
โปรเจ็คนี้เป็นโปรเจ็คการทดลองของกลุ่ม A2591 ที่พยายามและทดลองลดบทบาทความสำคัญของกราฟิก
ที่มีอิทธิพลต่อบรรจุภัณฑ์ดู
โดยเริ่มต้นทางกลุ่ม A2591 ได้เลือกทดลองกับสินค้า 3 ชิ้นที่ชื่นชอบ ชิ้นแรกก็คือสินค้า Nutella
ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จที่สุดในกลุ่มสินค้าเดียวกัน เมื่อบรรจุภัณฑ์เอาลวดลายที่อยู่บนฉลากออก โดยให้เห็นสินค้าภายใน เพราะไม่ต้องการที่จะให้เห็นส่วนผสมที่เป็นกราฟฟิกบนฉลาก ผู้บริโภคสามารถมองเห็นสินค้าชัดเจน
ชิ้นที่สองคือ Mr.Muscle ซึ่งอันนี้น่าจะดีกว่าอันแรก เนื่องจากว่าพอเอาฉลากสินค้าออก
จะเห็นความลึกลับของขวดที่บรรจุของเหลวสีเขียว
ตัวอย่างสุดท้ายคือ CornFlakes ข้าวโพดเนสท์เล่ ซึ่งน่าจะเห็นภาพชัดเจนว่ารูปภาพความรู้สึกว่าสำคัญแค่ไหน
ที่กลุ่มลูกค้าพอที่จะสามารถจินตนาการถึงความอร่อยที่พวกเขาอาจจะได้ลิ้มรส
เอาล่ะครับ....เรียนรู้นอกห้องเรียนกันได้ถ้าใส่ใจและสนใจในความลี้ลับของการออกแบบบรรจุภัณฑ์
เตรียมรับโจทย์ "ลัทธิจุลนิยม" ให้ดี
........................................................
ใครอ่านบทความนี้แล้วช่วยลงชื่อไว้ในช่องแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
แอบมาแอบไปแบบนี้แหละ
ดร.วรัตต์ อินทสระ
(วันห่วยๆที่ป่วยๆเปื่อยๆ)
พิทยาธร บุญวรรณ์ 51122760357
ตอบลบศักดิ์สิทธ์ มีชัย 51122760354
ตอบลบพุธิตา ภูชฎาภิรมย์
ตอบลบ51122760346 (A1)
:)
รวิสรา เหลืองรัตนานันท์ 51122760347
ตอบลบวายุพล เอี่ยมปาน 51122760054 B1 รายงานตัวครับอาจารย์
ตอบลบวีรวรรณ เทพมงคล 51122760386
ตอบลบกัตติกา สุพร 51122760369 (A1)
ตอบลบรายงานตัวแล้ววว
ยอดเยี่ยมมากันตั้ง ๕ คน
ตอบลบธีรวัฒน์ หลายเจริญ 51122760388
ตอบลบเชาวรินทร์ จันทร์แจ้ง 51122760370
ตอบลบสุทธิศักดิ์ หอละเอียด 51122760050 มารายงานตัวแล้วครับผม
ตอบลบกฤษณี อังคสุทธิพงษ์ 51122760385
ตอบลบธีรวัฒน์ ศรีบุญรอด 51122760374
ตอบลบธนวัฒน์ นุ่มอ่วม 51122760395 : ))
ตอบลบนันทพร ทองพูน
ตอบลบ51122760384
A1
นรินทร์ เอกตาแสง 51122760389 :P
ตอบลบพิศาภรณ์ วงค์หมากเห็บ
ตอบลบ51122760348
A1
นุชนาฏ สุทธิวารี 51122760098 ( B1)
ตอบลบธีรเวช ไทยมณี
ตอบลบ51122760375
A1
กมลพร อิทธิเกษมสุข
ตอบลบ51122760381
A1
จิรวัฒน์ เทพอาจ
ตอบลบ51122760383
A1
ภูริชญ์ ละอินทร์ 51122760367
ตอบลบนวรัตน์ ฉัตรดรงค์ 51122760093 B1
ตอบลบภัควจี ปัญญะสังข์ 51122760069 B1
ตอบลบณัฐพล พุ่มไทย 51122760167 A1
ตอบลบเสาวรส ชื่นขจร 51122760376 A1
ตอบลบไข่มุก พรเลิศนิมิตร 51122760377 A1
ตอบลบขอบคุณทุกคนที่เข้ามาลงชื่อครับ...ปิดการเช็คชื่อของวันนี้
ตอบลบค่อยติดตามครับ
ตอบลบสนุกดีค่ะ :) ,,เรียบง่าย*
ตอบลบ