





ป่วยจนได้...ฝนพรำ นอนดึก ตื่นเช้า และผลการเลือกตั้ง ทำให้พลังชีวิตหายไปเยอะ
แต่ชีวิตต้องดำเนินต่อไป หิวก็กิน ง่วงก็นอน ป่วยเดี๋ยวก็หาย ใช้เวลาที่เหลืออยู่ในงดงาม
การสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์นี่นิ่งสนิทไป ๒ สัปดาห์ มาคราวนี้ขอจัดหนัก ๓ เรื่องซ้อน
จะพาไปญี่ปุ่นทัวร์อเมริกาและพาไปรู้จักกับลัทธิจุลนิยม
๑. ญี่ปุ่นกับงานบรรจุภัณฑ์
ญี่ปุ่นมีหลักการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่น ไปค้นหนังสือชื่อ “รากเหง้าของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่น” (Japanese Packaging and its Roots in tradition)
่หน้าปกหนังสือ Japanese Packaging and its Roots in tradition
หนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งอ่านไม่ออก (ฮา.......)
แต่ก็หาข้อมูลมาจนได้ว่า เนื้อหาภายในเล่ม จะเล่าถึงต้นกำเนิดของบรรจุภัณฑ์ของญี่ปุ่น แนวความคิดของนักออกแบบของญี่ปุ่นที่เราความสามารถที่หลากหลายนั้น ถูกบ่มเพาะความรู้ที่มีอยู่จากขนบธรรมเนียม ตั้งแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน
ยุคต้น ๆ ของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเชื่อว่าแนวคิดการหีบห่อมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการติดต่อทางพุทธศาสนา และการค้ากับชาวจีน ชาวอินเดีย และประเทศต่างๆ ที่ไกลออกไปของเส้นทางสายไหมสู่ประเทศญี่ปุ่น
ตามแนวคิดนี้มีผลกระทบโดยตรงกับเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมชินโตของญี่ปุ่น หนึ่งในสิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรม ”การให้ของขวัญแบบญี่ปุ่น” คล้ายกับว่านี้เป็นความคิดในการให้ส่วย หรือบรรณาการเพื่อเข้าติดต่อกับต่างประเทศ ซึ่งวัฒนธรรม ”การให้ของขวัญ” นั้นนำไปสู่การแปรเปลี่ยนเป็นวิธีแห่งญี่ปุ่นยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เกิดต่อเนื่องในโอกาสสำคัญของชีวิต หรือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งดูเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนของขวัญกัน ไม่ต้องมีพิธีรีตองมากมาย แต่สิ่งที่ฝังรากลึกลงในธรรมเนียมมีความหมายโดยนัยค่อนข้างแตกต่างจากชาวตะวันตก ทุกวันนี้ของขวัญถูกให้ต่อเมื่อการได้เข้าโรงเรียนใหม่ หรือเรียนจบสำเร็จการศึกษา ได้งานใหม่ ได้เดินทางท่องเที่ยว แต่งงาน แม้แต่การเสียชีวิต ไม่ใช่แต่เพียงของวันเกิด และในบางครั้งของขวัญที่เป็นเงินตราถูกห่อด้วยความประณีต และถูกให้อย่างเป็นพิธีการ
ชาวญี่ปุ่นใช้คำว่า “tsutsumu” สำหรับทำหน้าที่เป็น “การบรรจุภัณฑ์” สิ่งซึ่งเก็บรักษา ขนส่ง หรือเป็นของขวัญ แต่ทว่าคำ tsutsumu ไม่ได้หมายความแค่เพียง บรรจุภัณฑ์ หรือสิ่งห่อหุ่มเท่านั้น เป็นแนวความคิดในธรรมเนียมญี่ปุ่น
“tsutsumu”ไม่แค่เพียงวัตถุที่ถูกห่อหุ้มอยู่เท่านั่น แต่หมายถึงดวงใจของผู้ให้นั้นถูกห่อหุ้มอยู่ด้วย นั่นคือความเฉียบคมที่อ่อนโยนของเป็นพิเศษในการให้ ซึ่งกลายเป็นหลักพื้นฐานวัฒนธรรมการหีบห่อของญี่ปุ่น และไม่ควรลืมเลือนความหมายนั้น เมื่อมองเห็นบรรจุภัณฑ์ของพวกเขา
ไม่แปลกเลยครับ....ที่สิ่งห่อหุ้มของญี่ปุ่นจะสวยงามพิถีพิถัน เพราะพวกเขาใช้ "ใจ" ใส่เข้าไปในการออกแบบด้วยนั่นเอง
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ห่อหุ่มไข่ ญี่ปุ่นสามารถออกแบบได้ ๑ เล่มเต็มๆ
อย่าลืมนะครับ มีทฤษฎีมากมายแต่ถ้าขาด "หัวใจ" ใส่เข้าไปในการออกแบบก็ไร้ความหมาย
......................................................................
๒. โคคาโคล่า เริ่มใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพืชไร่
ทำให้บริษัทโคคา-โคลาเป็นบริษัทแรกที่มีการนำขวดบรรจุภัณฑ์ PET ที่ผลิตจากพืชและสามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้เป็นที่แรก ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ตัวใหม่ทำให้การใช้พลาสติกจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงและยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
นอกจากนี้แล้วยังช่วยเสริมวิสัยทัศน์ของบริษัทที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตโดยไม่เพิ่มคาร์บอนให้กับโลก ทำให้บรรลุเป้าหมายของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste)
บริษัทโคคา-โคลา จะดำเนินการตรวจสอบ ติดตามผลและเก็บข้อมูลวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากพืชและนำเสนอผลเมื่อทุกอย่างพร้อมสมบูรณ์ ขวดบรรจุภัณฑ์จากพืชนี้ผลิตด้วยกระบวนการเปลี่ยนอ้อยและกากน้ำตาล (ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล) มาเป็นพลาสติก PET ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต นอกจากนี้ยังร่วมมือกับกองทุน World Wildlife Fund ในการสนับสนุนให้มีการปลูกอ้อยแบบยั่งยืนในประเทศบราซิลและประเทศต่าง ๆ
ทั้งนี้ ขวดบรรจุภัณฑ์ชีวภาพในอเมริกาเหนือจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบที่ได้จากอ้อยที่ผลิตในประเทศบราซิลถึง 30% ขณะที่ส่วนประกอบหลักที่ใช้จะเป็นพลาสติก PET แบบเดิม และบางส่วนมาจากวัตถุดิบที่ใช้แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณวัตถุดิบจากพืชที่ใช้ในการผลิตขวดบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
เนื้อหาส่วนนี้...จะปรากฏในเอกสารประกอบการสอนเรื่อง "บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม" อ่านกันล่วงหน้าให้รู้แนวทางของเนื้อหาไปก่อน และบอกใบ้ให้ว่า....เรื่องนี้แหละที่จะใช้ "ถามเป็นข้อสอบ"
..............................................................
๓. ลัทธิจุลนิยม หรือ ลัทธิมินิมัลลิสม์
คือขบวนการทางศิลปะ การออกแบบ และความงามที่ว่าด้วย "ความน้อย" เกิดจากการลดตัดทอน และเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของ ศิลปะสมัยใหม่ เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 โดยมีต้นกำเนิดมาจากศิลปะแบบ modernism ซึ่งเป็นศิลปะที่ไม่เพียงต่อต้านสไตล์การออกแบบยุคเก่าที่เน้นความหรูหราฟู่ฟ่าเท่านั้น
แต่ยังต่อต้านการเมืองและสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงด้วย นักออกแบบแนว modernist จึงใช้การออกแบบที่ตัดทอนสิ่งที่เกินจริงทิ้ง เป็นวิถีทางการแสดงออกที่จะทำลายชนชั้นทางสังคมด้วย พวกเขารู้สึกว่าวัตถุสิ่งของควรจะเป็นอย่างที่เป็นจริง และนี่ก็คือลักษณะของ minimallism ที่เน้นความเรียบง่ายบริสุทธิ์
ผลงานในแนวลดทอน ที่เรียกว่า "Minimal Art" ซึ่งยอมรับในทฤษฎีรูปทรง (Theory of Form) ที่เชื่อมั่นว่าศิลปะคือรูปทรงนัยสำคัญ ศิลปะที่ดีที่สุดคือศิลปะที่ลดทอนจนกลายเป็นรูปทรงพื้นฐานที่มีความเรียบง่ายที่สุด และยกย่องว่า "แนวคิดสำคัญกว่าการเล่าเรื่อง"
ในจิตรกรรมของฝรั่งเศสตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จิตรกรหัวก้าวหน้าทำการลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของแบบที่เขียนลง แทนที่การเขียนรายละเอียดด้วยฝีแปรงและสีสัน จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จิตรกรลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของรูปทรงลงจนกลายเป็นเหลี่ยมเรขาคณิต แล้วก็ลดทอนลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นศิลปะนามธรรม ดังผลงานของจอร์โจ โมรันดิ
เป็นศิลปินระดับมาสเตอร์ของศตวรรษ ที่๒๐โด่งดังไม่แพ้ ปอล เซซาน และ อง-บัปติสต์ ซิเมยง ชาร์แดง โดยเฉพาะภาพสติลไลฟ์และแลนด์สเคป ผลงานเป็นภาพซึ่งมีรายละเอียดที่เหมือนจริงน้อยลงทุกที ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในภาพ สีสัน หรือการจัดวางองค์ประกอบของภาพ แทนที่จะเป็นภาพเหมือนสิ่งของหรือผลไม้อย่างที่เคยเห็นกัน
ลัทธิจุลนิยมนี้ นักออกแบบบรจุภัณฑ์ได้นำมาทดลองใช้เพื่อลดความฟุ่มเฟือยของการออกแบบ
โดยทดลองกับบรรจุภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมหลายชิ้น
ลองคิดดูว่าถ้าเราถอดองค์ประกอบที่แสดงในบรรจุภัณฑ์เดิมให้มันน้อยที่สุดแล้ว เราจะรู้สึกอย่างไร???
โปรเจ็คนี้เป็นโปรเจ็คการทดลองของกลุ่ม A2591 ที่พยายามและทดลองลดบทบาทความสำคัญของกราฟิก
ที่มีอิทธิพลต่อบรรจุภัณฑ์ดู
โดยเริ่มต้นทางกลุ่ม A2591 ได้เลือกทดลองกับสินค้า 3 ชิ้นที่ชื่นชอบ ชิ้นแรกก็คือสินค้า Nutella
ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จที่สุดในกลุ่มสินค้าเดียวกัน เมื่อบรรจุภัณฑ์เอาลวดลายที่อยู่บนฉลากออก โดยให้เห็นสินค้าภายใน เพราะไม่ต้องการที่จะให้เห็นส่วนผสมที่เป็นกราฟฟิกบนฉลาก ผู้บริโภคสามารถมองเห็นสินค้าชัดเจน
ชิ้นที่สองคือ Mr.Muscle ซึ่งอันนี้น่าจะดีกว่าอันแรก เนื่องจากว่าพอเอาฉลากสินค้าออก
จะเห็นความลึกลับของขวดที่บรรจุของเหลวสีเขียว
ตัวอย่างสุดท้ายคือ CornFlakes ข้าวโพดเนสท์เล่ ซึ่งน่าจะเห็นภาพชัดเจนว่ารูปภาพความรู้สึกว่าสำคัญแค่ไหน
ที่กลุ่มลูกค้าพอที่จะสามารถจินตนาการถึงความอร่อยที่พวกเขาอาจจะได้ลิ้มรส
เอาล่ะครับ....เรียนรู้นอกห้องเรียนกันได้ถ้าใส่ใจและสนใจในความลี้ลับของการออกแบบบรรจุภัณฑ์
เตรียมรับโจทย์ "ลัทธิจุลนิยม" ให้ดี
........................................................
ใครอ่านบทความนี้แล้วช่วยลงชื่อไว้ในช่องแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
แอบมาแอบไปแบบนี้แหละ
ดร.วรัตต์ อินทสระ
(วันห่วยๆที่ป่วยๆเปื่อยๆ)