ชื่อโครงการ
มีวิธการตั้งชื่อ ๒ ลักษณะ คือ ต้องสื่อสารให้เกิดความเข้าใจและชัดเจนในทันที เช่น โครงการรณรงค์ลดโลกร้อน / ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง/ป้องการการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/ต่อต้านยาเสพติด/รักษาสิ่งแวดล้อม/งดสูบบุหรี่
หรือตั้งชื่อโครงการให้เกิดความอยากรู้ โดยใช้คำสั้น ง่าย กระชับ ในลักษณะของ Creative Word เช่น โครงการกล่องวิเศษ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กรณีศึกษานี้ให้ใช้ชื่อ นักศึกษาชั้นปีที่ ( ) โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
กลุ่ม (.....ให้ตั้งชื่อกลุ่มที่สอดคล้องกับชื่อโครงการ จะเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้......)
ระยะเวลาดำเนินการ
ส่วนนี้ให้ระบุวันเริ่มต้นโครงการจนถึงวันประเมินผลโครงการ เช่น เริ่มต้นประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ สิ้นสุดโครงการวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ และประเมินผลโครงการแล้วเสร็จวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๐
ดังนั้นระยะเวลาดำเนินการ คือ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ถึง ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓
หลักการและเหตุผล
เนื้อหาส่วนนี้เป็นส่วนที่เขียนยากที่สุด เพราะเป็นการสรุปความคิดทั้งหมดของโครงการ (Conceptual Frame Work) ซึ่งไม่ควรมีความยาวเกินกว่า ๑๐ บรรทัด
ตัวอย่างการเขียบนแผนงานรณงค์โครงการ “กล่องวิเศษ แผนดี กล่องมาก”
ปัจจุบันกล่องยูเอชทีถูกทิ้งลงถังขยะ เผาหรือฝังกลบอย่างน่าเสียดาย เพราะการขาดความเข้าใจในกระบวนการรีไซเคิลกล่องยูเอชทีและวิธีการจัดเก็บจึงเป็นที่มาของการประยุกต์ในการเรียนรู้สู่โรงเรียน
โครงการกล่องวิเศษ “แผนดี กล่องมาก” เป็นโครงการด้านสิ่งแวดล้อมโดยความสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสิต ร่วมกับ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด และ เครือเนชั่น ที่มุ่งส่งเสริมความรู้เรื่องกล่องยูเอชทีควบคู่กับการพัฒนากิจกรรมสร้าง สรรค์ในระดับเยาวชน เพื่อรณรงค์ให้เกิดการลดปริมาณขยะ และนำกล่องยูเอชทีกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อันเป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ให้เกิดคุณค่าในสังคมต่อไป
การเขียนวัตถุประสงค์ของโครงการ ควรมีไม่เกิน ๓ ข้อ เนื่องจากจะเป็นตัวชี้วัดการประเมินผลโครงการ หากเขียนวัตถุประสงค์จำนวนมาก อาจไม่สามารถทำตามวัตถุประสงค์ได้หมด ซึ่งจะปรากฏอยู่ที่ขั้นตอนการประเมินผล ถ้าเป็นเช่นนั้นการประเมินผลโครงการอาจจะ “ไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์” ได้
ตัวอย่าง
๑. เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องกล่องยูเอชทีควบคู่กับการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ในระดับเยาวชน
๒. เพื่อรณรงค์ให้เกิดการลดปริมาณขยะ และนำกล่องยูเอชทีกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
๓. เพื่อนำผลที่ได้รับจากโครงการไปเป็นพื้นฐานการสร้างงานวิจัยในมิติอื่น ๆ
ถ้าเขียนหลักการและเหตุผลได้ดีและครอบคลุม จะสังเกตได้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการ เป็นข้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในหลักการและเหตุผล
เป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ
ในส่วนนี้เป็นการประมาณการและประเมินคุณค่าของโครงการ จะสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการประเมินตนเองล่วงหน้า โดยปกติจะวางเป้าหมายเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. เป้าหมายและความสำเร็จที่สามารถระบุเป็นจำนวนที่นับได้ เช่น มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ( ......) คน / มีสื่อมวลชนเข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า (......) ฉบับ / มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ไม่น้อยกว่า (.......) ช่อง / ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ คิดเป็น (.......) เปอร์เซ็น (ประเด็นสุดท้ายนี้มีความสำคัญเพราะเกิดจากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ)
๒. เป้าหมายและความสำเร็จที่เป็นคำตอบเชิงคุณภาพ ซึ่งจะได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ เช่น สื่อมวลชน / ผู้เข้าร่วมงาน / ผู้สนับสนุนโครงการ ฯลฯ มักจะตั้งคำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจและความคิดเห็นอื่น ๆ ด้วยคำถามปลายเปิด เช่น สื่อมวลชนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการมากที่สุด (มาก/ปานกลาง/น้อย เพราะ.........................................)
กิจกรรม ระยะเวลา สถานที่แ ละผู้รับผิดชอบ
ที่ | กิจกรรมในโครงการและกิจกรรมที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ | ระยะเวลาดำเนินการ | สถานที่ | ผู้รับผิดชอบ |
ในการดำเนินงานส่วนนี้ เปรียบเสมือนหัวใจของโครงการ เพราะจะเกิดจากครีเอทีฟ เพื่อการสร้างสรรค์กิจกรรม ให้ตรงกับหลักการและเหตุผล ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ให้ตรงกับเป้าหมายและดัชนีชี้วัด
งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
เงินงบประมาณ………………………………………..บาท
เงินนอกงบประมาณ………………………………….....บาท
(ให้ระบุรายละเอียด)
ที่ | กิจกรรม/รายละเอียดการใช้เงินงบประมาณ | งบดำเนินการ | เงินนอกงบประมาณ | ||
ค่าตอบแทน | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | |||
โดยปกติแผนงานรณรงค์จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ และจัดสรรเงินงบประมาณมาให้ดำเนินการ เช่น โครงการรณรงค์สำนึกรักบ้านเกิด ของ ดีแทค ผูบริหารจะจัดเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการให้ จำนวน (......) ล้านบาท หากเป็นเช่นนี้ จะเป็นเงินงบประมาณ
แต่ถ้าแผนงานรณรงค์กรณีศึกษาในชั้นเรียนนี้ อาจระบุเงินเป็น ๒ ส่วน คือ เงินงบประมาณจากคณะดำเนินงาน (..........) บาท และเงินนอกงบประมาณ คือ เงินทุนที่ได้รับจากผู้สนับสนุนโครงการ (...........) บาท
กิจกรรมและรายละเอียดการใช้เงิน ให้ตรวจสอบจาก กิจกรรมในโครงการและกิจกรรมที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ ในตารางบันทึกด้านบน
ส่วนการระบุงบดำเนินการ แยกออกเป็น ๓ ส่วน คือ
ค่าตอบแทน หมายถึง เงินงบประมาณในการจ้างบุคคลในการจัดงาน
ค่าใช้สอย คือ เงินงบประมาณที่ใช้สำหรับการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ / ค่าพาหนะ / การที่พัก / ค่าอาหาร เป็นต้น
ค่าวัสดุ หมายถึง เงินงบประมาณทีใช้ในการซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้งาน หรือประกอบในงาน เช่น ค่าผลิตโปสเตอร์ / ค่าผลิตภาพยนตร์โฆษณา
จะสังเกตได้ว่าค่าใช้สอยและค่าวัสดุมีความแตกต่างที่ชัดเจนอยู่ ๑ ประการ คือ ค่าใช้สอยใช้แล้วหมดไป ค่าวัสดุใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
การประเมินผล
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ | วิธีการประเมิน | เครื่องมือที่ใช้ |
ผลผลิต (Outputs) | การสังเกต/การสัมภาษณ์/การตรวจสถิติ เอกสาร | แบบการสังเกต /แบบสัมภาษณ์ / แบบบันทึกสถิติ |
(Outcomes) | การสำรวจความพึงพอใจ | แบบสัมภาษณ์/แบบสำรวจความพึงพอใจ |
การอนุมัติโครงการ
ลงชื่อ ผู้เสนอโครงการ (๑ คน)
(……………………………….)
ลงชื่อ ผู้เห็นชอบโครงการ (มากกว่า ๑ คนได้)
(……………………………….)
ลงชื่อ ผู้อนุมัติโครงการ
(……………………………….) (๑ คน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น